สิ่งที่ "ควรทำ" และ "ไม่ควรทำ" ในการแสดงความคิดเห็นผ่านเวปไซต์
ทุกวันนี้มักจะเห็นกันโดยทั่วไป ว่า ผู้คนส่วนใหญ่มักจะโต้แย้งกันผ่านข้อความคอมเม้นต์ (ความคิดเห็น) บทเวปไซท์หรือบทความศาสนาบนอินเตอร์เน็ต ขณะที่อ่านความคิดเห็นต่างๆ เหล่านั้น มันก็ทำให้เราเกิดความสงสัยว่า “บุคคลที่กำลังแสดงความคิดเห็นอยู่นั้น” กำลังโต้แย้งเพื่อพิสูจน์ประเด็นของพวกเขาเอง หรือเพื่ออธิบายข้อเท็จจริงให้ผู้คนได้รับรู้
หาก การโต้แย้งนั้นเป็นไปเพื่อการ พิสูจน์ ความคิดและประเด็นของเขาเท่านั้น ดังนั้นสิ่งที่เขากระทำอยู่ก็เปรียบกับสิ่งที่ฮะดีษบทหนึ่งได้ กล่าวไว้ว่า
“ผู้ใดก็ตามที่แสวงหาความรู้ด้วยเพราะ ต้องการใช้ “มัน” เพื่อการแข่งขันประชันกับผู้รู้ หรือเป็นการแสดงซึ่งความสามารถในการโต้แย้งกับบรรดาผู้ที่มีความ เขลา หรือเพื่อที่จะดึงดูดความสนใจจากผู้คนแล้ว อัลลอฮฺจะทรงนำเขาเข้าสู่นรก” (ฮะดีษที่น่าเชื่อถือได้ รายงานโดย อัล ติรมิซีย์ ในฮะดีษของท่านกะอฺบ์ อิบนุ มาลิก)
หากว่า “การโต้แย้งดังกล่าว” นั้นเป็นไปเพื่อต้องการให้ผู้คนได้รับรู้ข้อเท็จจริง ดังนั้นสิ่งที่เขากระทำอยู่ก็เปรียบกับสิ่งที่อัลกุรอานได้กล่าว ไว้ว่า
“ไม่มีการบังคับใด (ให้นับถือ) ในศาสนา อิสลาม แน่นอน “ความจริง” นั้นได้เป็นที่กระจ่างแจ้งแล้วจาก “ความเท็จ” ดังนั้นผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่อ อัฎ-ฎอฆูต (สิ่งชั่วร้าย) และศรัทธาต่ออัลลอฮฺแล้ว แน่นอนเขาได้ยึดห่วงอันมั่นคงที่ไม่ม ีวันจะขาด และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้ (อัล บะกอรอฮฺ 2:256)
“ดังนั้น (ศาสนทูต) จงตักเตือนพวกเขา (ไปสู่หนทางแห่งสัจธรรม) เถิด หน้าที่ของเจ้าเป็นเพียงผู้ตักเตือนเท่า นั้น เจ้ามิใช่ผู้มีอำนาจเหนือพวกเขา ผู้ใดก็ตามที่ผินหลังและปฏิเสธศรัทธา อัลลอฮฺจะทรงลงโทษเขาด้วยการลงโทษอันเจ็บแสบ แท้จริงแล้ว พวกเขาจำต้องกลับไป และพวกเขาจะถูกเรียกมาเพื่อการคิดบัญชีต่อสิ่งที่พวกเขาได้กระทำ” (อัลฆอซิยะฮฺ 88:21-26)
จากอายะฮฺข้างบนนั้น เราจึงควรที่จะประกาศซึ่ง “สัจธรรม ข้อเท็จจริง” ให้ผู้คนได้รับรู้ หากแต่ไม่ควรที่จะบังคับหรือยัดเยียดให้ใครคนใดคนหนึ่ง เนื่องด้วยว่า “สัจธรรม หรือข้อเท็จจริง” ย่อมปรากฏให้เห็นได้ชัดด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว ในท้ายที่สุด สิ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือการขอการอำนวยพร (ดุอาอฺ) ต่ออัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮู วะตะอาลา) ให้ทรงนำพวกเขาเหล่านั้นสู่หนทางที่ถูกต้อง
เมื่อเราทำการโต้เถียง ทะเลาะกัน แน่นอนว่า “บรรดา มารร้าย (ชัยฎอน)” ย่อมเข้ามาร่วมอยู่กับเรา
ครั้งหนึ่งท่านศาสนทูต (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะศัลลัม) ได้นั่งอยู่กับบรรดาสหายของท่าน (ศอฮะบะฮฺ) จากนั้นได้มีบุรุษท่านหนึ่งได้กล่าว ด่าทอท่านอบูบักรฺ (รอฎิยัลลอฮุ อันฮุ) ซึ่งสร้างความเจ็บปวดให้แก่ท่าน หากแต่ท่านอบูบักรฺก็ยังคงนิ่งเฉยต่อการกระทำดังกล่าว บุรุษท่านนั้นก็ยังคงใช้คำพูดที่หยาบช้าต่อท่านอบูบักรฺ หากแต่ท่านอบูบักรก็ไม่ตอบโต้ใดๆ ต่อเขา และเมื่อบุรุษโง่เขลาท่านนั้นได้ กล่าวร้ายต่อท่านอบูบักรเป็นครั้งที่สาม ท่านอบูบักรจึงได้ตอบโต้กลับไป
เมื่อถึงตอนนั้น ท่านศาสนทูต (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะศัลลัม) ได้ลุกขึ้น ท่านอบูบักร (รอฎิยัลลอฮุ อันฮุ) จึงได้ถามท่านว่า “ท่าน ไม่พอใจในการกระทำของฉันหรือ ท่านรอซูล” ท่านศาสนทูตจึงตอบว่า “เปล่า หากแต่ (เมื่อท่านนิ่งเฉย) มลาอิกะฮฺได้ลงมาจากสวนสวรรค์และโต้แย้งต่อ คำพูดของบุรุษท่านนั้นแทนท่าน แต่เมื่อท่านได้เริ่มโต้ตอบกับบุรุษท่านนั้น มลาอิกะฮฺท่านนั้นก็จากไป และมารร้าย (ชัยฎอน) ก็เข้ามานั่งแทนที่ และฉันก็ไม่สามารถที่จะนั่งอยู่ในสถานที่ที่มีชัย ฎอนนั่งอยู่” (อบู ดาวูด เลขที่ 4878)
มีบางประเด็นสำคัญที่เราควรรำลึกหากเราอยู่ ระหว่างการโต้แย้ง (ไม่ว่าจะทางอินเตอร์เน็ต หรือการเผชิญหน้ากันก็ตาม)
1. “จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้าด้วยความสุขุมรอบคอบ และด้วยการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า แท้จริงพระเจ้าของพระองค์และพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงบรรดาผู้ที่ อยู่ในทางที่ถูกต้อง” (อันนะหฺลฺ 16:125)
สิ่งแรกคือ หากว่าหัวข้อของการโต้แย้งนั้นไม่ได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอิสลาม ดังนั้นย่อมเป็นการดีกว่าที่จะนิ่งเฉยและไม่เสียเวลาทุ่มเทไปกับ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เหล่านั้น แต่หากว่าสิ่งที่โต้แย้งกันอยู่นั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของ ศาสนา เช่นนั้นแล้วเราควรปฏิบัติตามที่อัลกุรอานได้แจ้งไว้ในอายะฮฺข้างบน นี้ คือเราจำต้องมีความสุภาพและเลือกใช้คำโต้แย้งอย่างระมัดระวัง เราไม่ควรที่จะด่าทอ สาบแช่ง หยาบคาย หรือมีอารมณ์โกรธ เราควรระลึกไว้เสมอว่าเรากำลังนำเสนอความเป็นมุสลิมของเรา โดยแสดงให้เห็นว่ามุสลิมควรประพฤติตัวอย่างไรต่อผู้คน (เช่น ผู้ใหญ่ หรือเด็ก) เราไม่ควรที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ทำลายภาพลักษณ์แห่งความเป็นมุสลิม ในอุดมคติ
2. เราควรที่จะเปิดใจให้ กว้างขึ้น บางครั้งด้วยความรู้ที่จำกัดของเรานั้น ทำให้เราเชื่อว่าความคิดเห็นของเรานั้นถูกต้องที่สุด อย่าง ไรก็ตาม มันก็เป็นไปได้ว่าการโต้แย้งของฝ่ายตรงกันข้ามนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ก็ เป็นได้
3. เราไม่ควรคาด เดาเอาเองว่า “คำตอบที่ถูกต้องนั้น มีอยู่คำตอบเดียว” มีหลายประเด็นที่บรรดาผู้รู้ นักวิชาการเองก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เราอาจจะเชื่อว่า “ความคิดเห็นหนึ่ง” นั้นถูกต้อง แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่า “ความคิดเห็นของคนอีกคน” นั้นผิด อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แจ้งไว้ว่าเป็นสิ่งที่ “ฮะรอม” (ไม่ได้รับการอนุมัติ) มันก็คือสิ่งที่ “ฮะรอม” สิ่งที่ “ฮะลาล” (ได้รับการอนุมัติ) ก็คือสิ่งที่ “ฮะลาล” และมันเป็นการดีกว่าที่จะหลึกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดความ เคลือบแคลงสงสัย ดังที่มีการกล่าวไว้ในฮะดีษดังกล่าวนี้
มีการรายงานว่า “ท่านศาสนทูต (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะศัลลัม) ได้กล่าวว่า “สิ่ง ที่ฮะลาลนั้นก็มีความชัดแจ้ง และสิ่งที่มีฮะรอมนั้นก็มีความชัดแจ้งเช่นกัน และสิ่งที่อยู่ระหว่างสองสิ่งนี้คือ “สิ่งที่ อยู่ในความเคลือบแคลงสงสัย” หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ “ฮะลาล” หรือ “ฮะรอม” ดังนั้นผู้ใดก็ตามที่ละทิ้ง (สิ่งที่พวกเขาเคลือบแคลงสงสัย) เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ต่อศาสนาและสติสัมปชัญญะของเขา ดังนั้นเขาย่อมได้รับความปลอดภัย และผู้ใดก็ตามที่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ในความเคลือบแคลงสงสัย เขาย่อมตกลงสู่สิ่งที่ผิดและสิ่งต้องห้าม ในกรณีนี้ก็เปรียบเสมือนกับผู้ที่ปรารถนาที่จะเลี้ยงดูปศุสัตว์ ของเขาให้อยู่ใกล้กับสถานที่หวงห้าม ที่ซึ่งบรรดาสัตว์ของเขาอาจจะถล่ำเดินเข้าไปในบริเวณดังกล่าว แท้จริงแล้วเจ้าของสถานที่ทุกคนนั้น ย่อมมีสถานที่เป็นเขตหวงห้ามของ เขา และแท้จริงแล้วสถานที่อันเป็นที่หวงห้ามของอัลลอฮฺคือสิ่งที่ฮะ รอม” (ศอเฮียฮฺ บุคคอรีย์ และศอเฮียฮฺมุสลิม)
4. “เจตนาของเรา” นั้น ควรเป็นไปเพื่อการแจ้งให้บุคคลอีกคนหนึ่งได้รับทราบ “ข้อเท็จจริง” เท่านั้น เราไม่ควรที่จะทำให้พวกเขารู้สึกว่าเรานั้นเป็นฝ่ายที่ถูก หรือเราเป็นผู้ที่มีความรู้ หรือให้พวกเขารู้สึกว่าพวกเขานั้นด้อยกว่า
5. เราควรให้คำแนะนำด้วยถ้อยคำที่มาจาก “อัลกุ รอาน” และ “ฮะดีษ” พร้อมด้วยข้ออ้างอิง หรือที่มาเกี่ยวกับประเด็นการโต้แย้ง นั้นๆ เราไม่ควรที่จะนำเสนอความคิดเห็นของเราร่วมเข้าไปด้วยหรือเสนอ เรื่องราวในปัจจุบันเป็นหลักฐานในการโต้แย้ง เราควรระลึกว่าอิสลามเป็นศาสนาที่มีความสมบูรณ์แบบในทุกยุคทุก สมัย
6. สุดท้ายนี้ หากเราไม่มีความรู้ใดๆ เกี่ยวกับประเด็น หรือหัวข้อที่มีการพูดคุยกัน เราก็ไม่ควรที่จะพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมเพียงเพื่อต้องการที่จะ โต้แย้ง เพราะมันจะไม่เพียงแค่ทำให้เราต้องเสียเวลาและเสียแรงไปโดยเปล่า ประโยชน์ หากแต่ในท้ายที่สุด มันจะทำให้เรานั้นเสียซึ่งความน่าเชื่อถือ และความน่าเคารพในความคิดของผู้อื่น
สุดท้ายนี้ หากว่าเราได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการโต้แย้งในประเด็นใด ประเด็นหนึ่ง ขอให้เราได้ระลึกถึง “ฮะ ดีษบทนี้”
“ฉันขอรับรองต่อท่านซึ่งสถานที่พำนัก ในสวรรค์ญันนะฮฺต่อบรรดาผู้ที่ละทิ้งการโต้เถียง (ทะเลาะ) แม้ว่าเขาจะเป็นฝ่ายที่ถูกต้องก็ตาม และฉันขอรับรองต่อท่าน ซึ่งสถานที่พำนักกลางสวรรค์ญันนะฮฺ ต่อบรรดาผู้ที่ละทิ้งการกล่าวเท็จแม้ว่าจะเป็นไปเพื่อความสนุก สนานก็ตาม และฉันขอรับรองต่อท่านซึ่ง ส่วนที่สูงสุดในสวรรค์ญันนะฮฺต่อบรรดาผู้ ที่มีมรรยาทที่ดีงาม” (สุนัน อบู ดาวูด)
ขออัลลอฮฺ ซุบฮานะฮู วะตะอาลา โปรดทรงให้ความช่วยเหลือพวกเราให้ออกห่างจากการสูญเสียเวลาและ พลังงานในการโต้เถียง ทะเลาะเบาะแว้ง และโปรดทรงให้เราได้เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่ช่วยเหลือ ผู้คนเช่นเดียวกับตัวพวกเขาเองโดยยึดมั่นต่อคำชี้นำในอัลกุ รอานและฮะดีษในมรรยาทประจำวันของเราด้วยเถิด อามีน
แหล่งที่มา The Do's and Don't's of Arguments on Islamic pages forums
About author: Admin
Cress arugula peanut tigernut wattle seed kombu parsnip. Lotus root mung bean arugula tigernut horseradish endive yarrow gourd. Radicchio cress avocado garlic quandong collard greens.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น: