Gambaran kepribadian Dari Bentuk Kuku

Gambaran kepribadian Dari Bentuk Kuku, tepatkah?
Berikut Bentuk Kuku Berdasarkan Kepribadian
Berikut ini beberapa penjelasan mengenai kepribadian seseorang dilihat dari bentuk kukunya. Benar atau tidak sih? Buktikan sendiri.

1. Bentuk Kuku Pendek
Wah, sepertinya Anda adalah orang yang memiliki keingintahuan yang tinggi. Anda termasuk orang yang bersemangat, intuitif dan mampu berpikir secara logis. Wanita dengan kuku pendek agak konservatif, namun selalu bisa diandalkan.

2. Bentuk Kuku Pendek dan Lebar
Masih sama dengan kuku pendek. Kuku pendek yang lebar juga memiliki keingintahuan yang tinggi. Namun orang seperti ini lebih berpotensi menjadi orang yang kritis dan emosional. Orang-orang berkuku pendek dan lebar bisa jadi merupakan orang yang perfeksionis.

3. Bentuk Kuku Lebar, Panjang, Berujung Bulat
Bentuk kuku seperti ini menggambarkan pribadi yang bijaksana. Ia pemikir yang baik dan punya pemikiran yang masuk akal. Orang seperti ini cukup enak diajak sharing. Mereka adalah pribadi yang independen dan romantis.

4. Bentuk Kuku Panjang Berujung Meruncing
Kuku seperti ini menunjukkan keindahan dan biasanya orang yang memilikinya merupakan sosok yang imajinatif. Karakternya tenang dan easy going. Wanita dengan kuku seperti ini umumnya tak takut mencoba hal baru.
5. Bentuk Kuku Kecil

Orang yang memiliki bentuk kuku kecil adalah orang yang sensitif alias perasa. Selain perasa dengan reaksi orang, ia juga peka terhadap orang-orang di sekitarnya.

6. Bentuk Kuku Yang Digigiti
Bila Anda memiliki kuku seperti ini, Anda memiliki kecemasan dan kontrol yang kurang baik. Hal ini berhubungan dengan psikologis di mana Anda menginginkan kesempurnaan yang impulsif.
km no berapa?

Like n share ya

จงฉวย 5ประการ ก่อนที่อีก 5 ประการจะมาถึงเจ้าาาาา


ความรู้เรื่องผงชูรส และ พิษภัยของผงชูรส


                                                                                     รวบรวมโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พิชัย โตวิวิชญ์
1. ผงชูรสคืออะไร
ผงชูรส คือ สารเคมีที่มีสูตรเคมีดังนี้ มีชื่อทางเคมีว่า โมโนโซเดียม-แอล-กลูตาเมต (MONOSODIUM-L-GLUTAMATE) และมีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า เอ็ม เอส จี (MSG) ซึ่งย่อมาจากชื่อเต็มภาษาอังกฤษที่ขีดเส้นใต้ไว้นั่นเอง ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกว่า “บี่เจ็ง”

2. ขบวนการผลิตผงชูรส
ผงชูรสผลิตจากขบวนการทางเคมี ซึ่งมีทั้งกระบวนการหมักและต้องใช้สารเคมีหลายตัว เช่น กรดกำมะถันหรือกรดซัลฟูริค กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก ยูเรีย ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในปัสสาวะของคน นอกจากนี้ยังต้องใช้โซดาไฟอีกด้วย
ขบวนการผลิตผงชูรสอาจเขียนเป็นแผนผังโดยย่อได้ดังต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างที่ผลิตจากแป้งมันสำปะหลัง โปรดสังเกตสารเคมีที่ต้องใช้ในแต่ละขั้นตอน ซึ่งมีทั้งกรดและด่างโซดาไฟ รวมทั้งยูเรียด้วย

ขบวนการผลิตผงชูรส
1. แป้งมันสำปะหลัง (TAPIOCA หรือ CASSAWA STARCH)
ใช้กรดกำมะถันหรือกรดซัลฟูริค (H2SO4) ผ่านขบวนการย่อยสลายแป้งทางเคมีที่ 130 องศาเซลเซียส (SACCHARIFICATION)
2. สารละลายน้ำตาลกลูโคส (GLUCOSE SOLUTION)
ใช้ยูเรีย(Urea) และเชื้อจุลินทรีย์ (Corynebacterium
glutanicum) ผ่านขบวนการหมัก (Fermentation)
3. แอมโมเนียมกลูตาเมต (Ammonium Glutamate)
ใช้กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริค (HCl)
ผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
4. กรดกลูตามิค (Glutamic acid)
ใช้โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH)
ผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
5. สารละลายผงชูรสหยาบ (MSG. Crude Solution)
ใช้สารเคมีฟอกสี ผ่านขบวนการฟอกสี
6. สารละลายผงชูรสใส (MSG. Clear Solution)
ผ่านขบวนการตกผลึก
3. ผงชูรสมีประโยชน์หรือไม่
ผงชูรสไม่มีประโยชน์ทางโภชนาการ ถึงแม้จะเกี่ยวข้องกับกรดกลูตามิค ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ไม่มีความจำเป็น เพราะร่างกายผลิตเองได้ จึงไม่มีคุณค่าทางอาหารแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อนึ่ง ผงชูรสเป็นสารเคมีคนละตัวกับกรดกลูตามิคที่มีอยู่ในธรรมชาติและในอาหาร ประเภทโปรตีน โดยที่ผงชูรสเป็นเกลือโซเดียมเช่นเดียวกับเกลือแกง เป็นคนละตัวกับกรดเกลือที่หลั่งอยู่ในกระเพาะอาหารเวลาหิว
นอกจากไม่มีประโยชน์แล้ว ผงชูรสยังมีโทษและพิษภัยอันตรายมากมายด้วย ซึ่งจะกล่าวโดยย่อดังต่อไปนี้
4. พิษภัยและอันตรายของผงชูรส
พิษภัยและอันตรายของผงชูรสอาจแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เกิดจากโซเดียมและส่วนที่เกิดจากตัวผงชูรสแท้ๆ
5. พิษภัยและอันตรายที่เกิดจากเกลือโซเดียม
ผงชูรสมีโซเดียมที่มาจากโซดาไฟเป็นองค์ประกอบสำคัญเช่นเดียวกับเกลือแกง แต่อันตรายมากกว่าเกลือแกงตรงที่ว่าเกลือแกงใช้เพียงนิดเดียว ก็รู้สึกว่ามีรสเค็ม แต่ผงชูรสใส่มากเท่าไรก็ไม่รู้สึกตัวว่ามีปริมาณโซเดียมมากเท่าไร เพราะไม่มีรสเค็มให้รู้สึกเหมือนอย่างเกลือแกง หรือพูดอีกนัยหนี่ง ผงชูรสมี “พิษแฝง” ในเรื่องโซเดียม ซึ่งมีพิษภัยอันตรายดังต่อไปนี้
5.1 ทำให้ภูมิต้านทานหรือภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ลดลง ถึงแม้ผงชูรสจะไม่ทำให้เกิดโรคเอดส์โดยตรง แต่ (ภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง คือความหมายของโรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งย่อมาจากคำว่า Antibody Immune Defficiency Syndrome
5.2 ทำให้เกิดการคั่งในสมองเด็ก ซึ่งเมื่อเด็กโตขึ้นจะเป็นคนปัญญาอ่อน ในปัจจุบันนี้มีเด็กปัญญาอ่อนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่มีผงชูรสแพร่หลายในประเทศไทย จะเกี่ยวข้องกันทั้งทางตรงและทางอ้อมหรือไม่น่าศึกษา
5.3 ทำให้เด็กทารกเกิดอาการชักโคมา ซึ่งบางครั้งแพทย์ไม่รู้สาเหตุ อาจทำการรักษาผิดพลาดเป็นอันตรายได้
5.4 เป็นภัยต่อหญิงมีครรภ์ทำให้ร่างกายบวมและยังมีพิษภัยต่อทารกในครรภ์และทารกแรกเกิดด้วย
5.5 อันตรายต่อผู้เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น โรคไต ความดันสูง โรคหัวใจ และโรคอื่นๆที่แพทย์ห้ามกินของเค็ม ซี่งหมายถึงการห้ามกินเกลือโซเดียมนั่นเอง ได้แก่เกลือแกงและผงชูรสเป็นต้น
6. พิษภัยและอันตรายที่เกิดจากตัวผงชูรสแท้
6.1 ทำให้เกิดอาการแพ้ผงชูรส ซึ่งจะมีอาการชาและร้อนวูบวาบที่ปาก ลิ้น ใบหน้า โหนกแก้ม ต้นคอ หน้าอก บางคนมีผื่นแดงเกิดขึ้นตามตัว แน่นหน้าอก หัวใจเต้นช้าลง หายใจไม่สะดวก เป็นต้น จนเป็นที่รู้จักและขนานนามโรคแพ้ผงชูรสว่า “ไชนีสเรสทัวรองซินโดม”(Chinese Restaurant Syndrome) หรือ “โรคภัตตาคารจีน” เพราะร้านอาหารจีนมักใช้ผงชูรสกันมากนั่นเอง
6.2 ทำลายสมองส่วนหน้าที่เรียกว่าไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตและระบบสืบพันธุ์ของร่างกาย ทำให้การเจริญเติบโตช้า ปัญญาอ่อน ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ เป็นหมัน อวัยวะสืบพันธุ์เล็กลง ทั้งในเรื่องขนาดและน้ำหนัก
6.3 ทำลายระบบประสาทตา สายตาเสียหรือเกิดตาบอดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัตว์ทดลอง ยิ่งอายุน้อยจะยิ่งเกิดผลร้ายมาก
6.4 ทำลายกระดูกและไขกระดูก ซึ่งเป็นส่วนที่ผลิตเม็ดเลือดแดงในร่างกาย อาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้ นอกเหนือจากโรคทรัพย์จาง เพราะต้องใช้เงินซื้อผงชูรสโดยไม่จำเป็น
6.5 ทำให้ไวตามินในร่างกายลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวตามินบี-6 ทำให้ร่างกายผิดปกติและเป็นโรคผิวหนังได้ง่าย (การค้นพบนี้ทำให้ใช้ไวตามินบี-6 แก้โรคแพ้ผงชูรสได้)
6.6 เกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผงชูรสที่ผ่านความร้อนสูงๆ เช่น การปิ้ง ย่าง เผา ทำให้เกิดสารก่อมะเร็งในอวัยวะต่างๆ ได้หลายแห่ง เช่น ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ตับและสมอง เป็นต้น
6.7 ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ทำให้เป็นโรคประสาทได้ง่ายขึ้น ในปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคประสาทมากขึ้นเรื่อยๆ น่าศึกษาว่าเกิดจากผงชูรสได้หรือไม่
6.8 เปลี่ยนแปลงโครโมโซม ทำให้ร่างกายเกิดวิรูปหรือผิดปกติ ปากแหว่ง หูแหว่ง จมูกวิ่น แขนขาพิการ เป็นต้น
6.9 ถ้ากินมากจะผ่านเยื่อกั้นระหว่างรกภายในร่างกายของผู้เป็นมารดากับทารกในครรภ์ได้ ทำให้ทารกในครรภ์ได้รับผลกระทบจากผงชูรส
6.10 ทำให้เด็กเล็กถึงตายได้ เด็กไทยอายุ 20 เดือนถึงแก่ความตาย เมื่อกินขนมครกโรยผงชูรสด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นน้ำตาล (เรื่องนี้ผู้เขียนได้สัมภาษณ์บิดามารดาของเด็กเอง)
7. ผงชูรสแท้กับผงชูรสเทียม
ทุกวันนี้ผงชูรสมีราคาถูก จึงไม่มีการปลอมปนด้วยสารเคมีชนิดบอแรกหรือโซเดียมเมตาฟอสเฟต ซึ่งมีเกล็ดคล้ายคลึงกับผงชูรส อย่างที่เกิดขึ้นในสมัยก่อนที่ผงชูรสมีราคาแพงมาก
อย่างไรก็ตาม หากมีการปลอมปนผงชูรสในปัจจุบันนี้ มักจะปลอมปนด้วยน้ำตาลทรายหรือเกลือแกง
ดังนั้น ในปัจจุบันนี้จึงไม่ค่อยมีผงชูรสปลอม ซึ่งมักจะเป็นข้ออ้างของบริษัทผู้ผลิต รวมทั้งข้าราชการที่สนับสนุนบริษัทผู้ผลิตผงชูรสว่า “ผงชูรสแท้ไม่อันตราย ผงชูรสปลอมจึงจะอันตราย”
อันที่จริงถ้าหากมีผงชูรสปลอมปนด้วยน้ำตาลหรือเกลือแกง ผงชูรสแท้ย่อมจะอันตรายมากกว่าผงชูรสปลอม เพราะน้ำตาลทรายมีพิษภัยน้อยกว่าผงชูรส ส่วนเกลือแกงก็มีรสเค็มจัด ถ้ากินผงชูรสในปริมาณที่จะให้รสเค็มเท่าเกลือแกงแล้ว จะมีพิษภัยมากกว่าเกลือแกงหลายเท่าตัว

ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เพราะคลิปนี้ได้ทำให้คนเข้ารับอิสลาม



ดูคลิปนี้แล้ว ทำให้เราคิดและเปิดสมองรับรู้สิ่งที่ดีๆและถูกต้องที่สุด คนใดที่เปิดดูคลิปนี้แล้ว ช่วยกันแชร์ช่วยกันส่งต่อให้มากๆ เพราะคลิปนี้มีประโยชมาก สำหรับคนที่กำลังสับสนในด้านศาสนา สับสนในตัวเอง ไม่รู้ว่าตัวเองมาจากใหนใครเป้นคนสร้าง แล้วโลกนี้หละ ใครสร้างมันขึ้นมา? เกิดขึ้นโดยธรรมชาติจิงๆหรอ? และนี้แหละคือคำตอบ นี้แหละหนทางที่ถูกต้องที่สุด เรืองราวทั้งหมดนี้ มีบันทึกในอัลกุรอ่าน จงอ่านและศึกษาแล้วใช้สมอง คิดในสิ่งที่ถูกต้อง คำตอบทั้งหมด อยู่ใน"อัลกุรอ่าน" จงอ่าน จงอ่าน และจงอ่าน

แบบใหนกันที่เราเรียกว่า... รั ก แ ท้ ...

รูปภาพ : ‎แบบใหนกันที่เราเรียกว่า... รั ก แ ท้ ... 

ภาพความรักของพระเอกนางเอกในละครตอนจบ ดูช่างสวยงามเป็นที่ใฝ่ฝันของใครหลายๆ คน คงมีคนจำนวนน้อยนัก ที่ไม่คาดหวังชีวิตรักที่ประสบความสำเร็จ ภาพที่เรามักพบเห็นในสังคมคือ ชายหญิงเดินเกาะเกี่ยวกันเป็นคู่ แตะเนื้อต้องตัวกันเป็นเรื่องธรรมดา กอดซบกันไม่ใช่เรื่องแปลก ... นี่คือสิ่งที่สะท้อนความเสื่อมถอยของสังคม

แม้แต่ “มุสลิม” ที่ได้ชื่อว่าผู้น้อมรับยอมจำนนต่อคำบัญชาของอัลลอฮฺโดยสิ้นเชิง ก็ยังปล่อยให้ค่านิยมในสังคมที่เสื่อมถอยเข้าแทรกแซงการยึดมั่นปฏิบัติตามหลักการ ... หนุ่มสาวจำนวนมากคบหากันอย่างเลยเถิดก่อนนิกะฮฺ เอาระบบแฟนมาใช้โดยไม่ใยดีความบริสุทธิ์ก่อนแต่งงานที่อิสลามรักษา ... การคุยโทรศัพท์ระหว่างชายหญิงเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่สร้างความจำเป็นขึ้นมาอ้างได้เสมอ ทั้งที่อิสลามมีกรอบ

ขอบเขตวางไว้ชัดเจน ... รูปแบบการทำงานอิสลามไม่แบ่งแยกชายหญิง อ้างว่ากลัวทำให้เครียด ทั้งที่สิ่งนี้คือหลักการของอัลลอฮฺ ... ฯลฯ

“ความรัก” มักถูกแสดงออกด้วยการแบ่งปันความรู้สึกดีๆ ต่อคนรัก มีความสุขเมื่อเขาทำดีและเมื่อมีสิ่งดีประสบกับเขา มีความทุกข์เมื่อเขาทำผิดและเมื่อมีสิ่งเลวร้ายประสบกับเขา ช่วยเหลือและสนับสนุนกันและกันในเรื่องของความดี ตักเตือนห้ามปรามกันและกันในเรื่องของความชั่ว ... เช่นนี้ความรักย่อมเป็นสิ่งดียิ่ง แต่หากสิ่งเหล่านี้ ถูกแสดงออกกับคนที่ไม่หะลาล เวลาที่ไม่หะลาล และรูปแบบที่ไม่หะลาลแล้ว ... ยังจะเรียกว่า “ความรัก” อีกหรือ?

แน่นอนว่าการแสดงความห่วงหาอาทร ระหว่างชายหญิงที่ไม่ใช่มะหฺรอมกันนั้น ไม่ใช่ความรัก ไม่ว่าความห่วงใยกันนั้นจะแสดงออกมาในรูปแบบที่คิดว่าดี เช่น โทรปลุกละหมาดตะฮัจญุด คุยกัน (เป็นว่าเล่น) เพื่อตักเตือนกันเรื่องศาสนา ถามไถ่เรื่องส่วนตัว ทั้งที่ไม่ใช่ธุระ ฯลฯ โดยคิดว่าถ้าเป็นเรื่องศาสนาแล้วล่ะก็ ... ดี ทำได้! ... ทั้งที่เมื่อตัดข้ออ้างเรื่องศาสนาออกไป ก็จะพบว่าไม่ต่างอะไรกับระบบแฟนของคนกาเฟร ยิ่งที่คนแสดงตัวว่ารู้ศาสนา ถ้ารู้ต้องนำมาใช้มิใช่แยกความรู้ออกจากการปฏิบัติ ก็ไม่แตกต่างกับความรู้ที่เป็นเพียงเครื่องประดับ (เพิ่มเติ่ม โดย annisaa.com)

เรามักจะเอาแต่วาดฝันภาพสวยงาม อยากได้สิ่งนั้น อย่างนั้นอย่างนี้ แต่ไม่ค่อยย้อนกลับมามองดูตัวเองว่าสมควรแค่ไหนที่จะได้รับสิ่งเหล่านั้น? ... เราปรารถนาความรักที่สวยงาม แต่กำลังใช้จ่ายความรักไปอย่างเลอะเทอะ ไม่ได้ทะนุถนอมไว้เพื่อแสดงออกในเวลาและต่อบุคคลที่เหมาะสม ... เราปรารถนาคู่ครองที่ดี แต่ไม่ได้ทำอะไรแม้เพียงวิงวอนดุอาอฺอย่างจริงใจต่ออัลลอฮฺ ... เช่นนี้แล้ว ความรักของเราจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร?

رَبَّنَا هَبْ لَنَا مِنْ أَزْوَاجِنَا وَذُرِّيَّاتِنَا قُرَّةَ أَعْيُنٍ وَاجْعَلْنَالِلْمُتَّقِيْنَ إِمَامًا
โอ้พระผู้อภิบาลของเรา ขอทรงโปรดประทานแก่เรา ซึ่งคู่ครองและลูกหลาน ให้เป็นที่รื่นรมแก่สายตาของเรา และขอทรงโปรดให้เรา เป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้ยำเกรง

หากการปฏิบัติของมุสลิม ผู้เป็นประชาชาติตัวอย่าง ยังไม่สะท้อนภาพการยอมจำนนต่อคำบัญชาของอัลลอฮฺอย่างสิ้นเชิง มุสลิมยังไม่เห็นคุณค่าของหลักการ แล้วเราจะเรียกร้องผู้อื่นและนำเสนออิสลามให้เป็นแนวทางแก้ปัญหาแก่ผู้อื่นได้อย่างไร?
.
.
.
.
ญาซากัลลอฮุคอยรอน 

เครดิต โดย : อุมมุ ฮัมซะฮฺ
ที่มา : เว็บบ้านมุสลิมะฮฺที่น่ารัก บทความการเลือกคู่ครอง‎

ภาพความรักของพระเอกนางเอกในละครตอนจบ ดูช่างสวยงามเป็นที่ใฝ่ฝันของใครหลายๆ คน คงมีคนจำนวนน้อยนัก ที่ไม่คาดหวังชีวิตรักที่ประสบความสำเร็จ ภาพที่เรามักพบเห็นในสังคมคือ ชายหญิงเดินเกาะเกี่ยวกันเป็นคู่ แตะเนื้อต้องตัวกันเป็นเรื่องธรรมดา กอดซบกันไม่ใช่เรื่องแปลก ... นี่คือสิ่งที่สะท้อนความเสื่อมถอยของสังคม

แม้แต่ “มุสลิม” ที่ได้ชื่อว่าผู้น้อมรับยอมจำนนต่อคำบัญชาของอัลลอฮฺโดยสิ้นเชิง ก็ยังปล่อยให้ค่านิยมในสังคมที่เสื่อมถอยเข้าแทรกแซงการยึดมั่นปฏิบัติตาม หลักการ ... หนุ่มสาวจำนวนมากคบหากันอย่างเลยเถิดก่อนนิกะฮฺ เอาระบบแฟนมาใช้โดยไม่ใยดีความบริสุทธิ์ก่อนแต่งงานที่อิสลามรักษา ... การคุยโทรศัพท์ระหว่างชายหญิงเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่สร้างความจำเป็นขึ้นมา อ้างได้เสมอ ทั้งที่อิสลามมีกรอบ

ขอบเขตวางไว้ชัดเจน ... รูปแบบการทำงานอิสลามไม่แบ่งแยกชายหญิง อ้างว่ากลัวทำให้เครียด ทั้งที่สิ่งนี้คือหลักการของอัลลอฮฺ ... ฯลฯ

“ความรัก” มักถูกแสดงออกด้วยการแบ่งปันความรู้สึกดีๆ ต่อคนรัก มีความสุขเมื่อเขาทำดีและเมื่อมีสิ่งดีประสบกับเขา มีความทุกข์เมื่อเขาทำผิดและเมื่อมีสิ่งเลวร้ายประสบกับเขา ช่วยเหลือและสนับสนุนกันและกันในเรื่องของความดี ตักเตือนห้ามปรามกันและกันในเรื่องของความชั่ว ... เช่นนี้ความรักย่อมเป็นสิ่งดียิ่ง แต่หากสิ่งเหล่านี้ ถูกแสดงออกกับคนที่ไม่หะลาล เวลาที่ไม่หะลาล และรูปแบบที่ไม่หะลาลแล้ว ... ยังจะเรียกว่า “ความรัก” อีกหรือ?

แน่นอนว่าการแสดงความห่วงหาอาทร ระหว่างชายหญิงที่ไม่ใช่มะหฺรอมกันนั้น ไม่ใช่ความรัก ไม่ว่าความห่วงใยกันนั้นจะแสดงออกมาในรูปแบบที่คิดว่าดี เช่น โทรปลุกละหมาดตะฮัจญุด คุยกัน (เป็นว่าเล่น) เพื่อตักเตือนกันเรื่องศาสนา ถามไถ่เรื่องส่วนตัว ทั้งที่ไม่ใช่ธุระ ฯลฯ โดยคิดว่าถ้าเป็นเรื่องศาสนาแล้วล่ะก็ ... ดี ทำได้! ... ทั้งที่เมื่อตัดข้ออ้างเรื่องศาสนาออกไป ก็จะพบว่าไม่ต่างอะไรกับระบบแฟนของคนกาเฟร ยิ่งที่คนแสดงตัวว่ารู้ศาสนา ถ้ารู้ต้องนำมาใช้มิใช่แยกความรู้ออกจากการปฏิบัติ ก็ไม่แตกต่างกับความรู้ที่เป็นเพียงเครื่องประดับ (เพิ่มเติ่ม โดย annisaa.com)

เรามักจะเอาแต่วาดฝันภาพสวยงาม อยากได้สิ่งนั้น อย่างนั้นอย่างนี้ แต่ไม่ค่อยย้อนกลับมามองดูตัวเองว่าสมควรแค่ไหนที่จะได้รับสิ่งเหล่านั้น? ... เราปรารถนาความรักที่สวยงาม แต่กำลังใช้จ่ายความรักไปอย่างเลอะเทอะ ไม่ได้ทะนุถนอมไว้เพื่อแสดงออกในเวลาและต่อบุคคลที่เหมาะสม ... เราปรารถนาคู่ครองที่ดี แต่ไม่ได้ทำอะไรแม้เพียงวิงวอนดุอาอฺอย่างจริงใจต่ออัลลอฮฺ ... เช่นนี้แล้ว ความรักของเราจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร?

رَبَّنَا هَبْ لَنَا مِنْ أَزْوَاجِنَا وَذُرِّيَّاتِنَا قُرَّةَ أَعْيُنٍ وَاجْعَلْنَالِلْمُتَّقِيْنَ إِمَامًا
โอ้พระผู้อภิบาลของเรา ขอทรงโปรดประทานแก่เรา ซึ่งคู่ครองและลูกหลาน ให้เป็นที่รื่นรมแก่สายตาของเรา และขอทรงโปรดให้เรา เป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้ยำเกรง

หากการปฏิบัติของมุสลิม ผู้เป็นประชาชาติตัวอย่าง ยังไม่สะท้อนภาพการยอมจำนนต่อคำบัญชาของอัลลอฮฺอย่างสิ้นเชิง มุสลิมยังไม่เห็นคุณค่าของหลักการ แล้วเราจะเรียกร้องผู้อื่นและนำเสนออิสลามให้เป็นแนวทางแก้ปัญหาแก่ผู้อื่น ได้อย่างไร?
.
.
.
.
ญาซากัลลอฮุคอยรอน

เครดิต โดย : อุมมุ ฮัมซะฮฺ
ที่มา : เว็บบ้านมุสลิมะฮฺที่น่ารัก บทความการเลือกคู่ครอง

ประโยชน์ของการรับประทานผลอินทผาลัม

อัลฮัมดุลิลละห์ อินทผลัมค่ะ ตอนยังไม่สุก.

ปกติแล้วมุสลิมจะละศีลอดด้วยการอินทผาลัม ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เคยกล่าวในทำนองที่ว่า "หากในหมู่สูเจ้ามีผู้ถือศีลอด เขาจงละศีลอดด้วยอินทผาลัมเถิด หากไม่มีมัน (อินทผาลัม) จงดื่มน้ำ แท้จริงน้ำนั้นเป็นสิ่งช่วยชำระร่างกาย"

ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เคยละศีลอดด้วยอินทผาลัมก่อนที่ท่านจะละหมาดมัฆริบ บางรายงานเล่าว่า หากไม่มีอินทผาลัมสุก ท่านจะจิบน้ำ 2-3 จิบ ด้านศาสตร์ร่วมสมัยพิสูจน์ให้ประจักษ์แล้วว่า อินทผาลัมเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งประกอบไปด้วยน้ำตาล ไขมัน โปรตีนต่างๆ และวิตามินที่สำคัญอีกหลายชนิด สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้แนะนำ

อินทผาลัมยังมีสายใยอาหารอีกหลายชนิด แพทย์แผนปัจจุบันค้นพบว่า อินทผาลัมมีส่วนช่วยในการป้องกันจากโรคมะเร็งในช่องท้องอย่างมีประสิทธิภาพ อินทผาลัมยังเป็นผลไม้ที่คุณประโยชน์ด้านโภชนาการเหนือผลไม้นานาชนิด ซึ่งส่วนประกอบด้วย น้ำมัน แคลเซียม ซัลเฟอร์ เหล็ก โพเทสเซียม ฟอสฟอรัส แมงกานีส คอพเปอร์ และแมกนีเซียม อาจกล่าวได้ว่า อินทผาลัมเป็นผลไม้ที่ให้ประโยชน์ทางอาหาร ชาวอาหรับมักจะกินอินทผาลัมร่วมกับนม โยเกิร์ต หรือขนมปัง เนยและปลา การร่วมกันดังกล่าวถือเป็นการกินอาหารที่เพียงพอสำหรับสมองและร่างกาย อินทผาลัมถูกกล่าวในอัลกุรอาน 20 ครั้งด้วยกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของมัน ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) มักจะเปรียบเทียบมุสลิมดั่งต้นอินทผาลัม ท่านกล่าวว่า "ในบรรดาต้นไม้นั้น มีต้นไม้ชนิดเดียวที่คล้ายคลึงกับมุสลิม นั่นก็คือ ต้นอินทผาลัม ซึ่งใบของมันจะไม่ร่วง"

พระนางมัรยัม มารดาแห่งเยซู (ท่านนบีอีซา อะลัยฮิสสลาม) ได้รับประทานอินทผาลัมเป็นอาหารเมื่อรู้สึกปวดเมื่อยจาการทำงานและช่วงมี ครรภ์ ดังนั้น อินทผาลัมเป็นอาหารสุดยอดแห่งความหวาน ย่อยสะลายได้ง่าย แค่ใช้เวลา 30 นาที ร่างกายก็จะกลับมากระชุ่มกระชวยอีกครานึง เหตุผลก็คือ การที่เลือดขาดสารน้ำตาลจึงทำให้รู้สึกหิว และจะไม่ทำให้ท้องว่างเมื่อทานอินทผาลัม ร่างกายจะได้รับสารอาหารสัมคัญแม้กินแค่ 2-3 เม็ด ความรู้สึกหิวจะทุเลาลง เมื่อคน ๆ หนึ่งละศีลอดด้วยการกินอินทผาลัมก่อนการรับประทานอาหารอื่น ๆ เขาก็จะรับประทานอาหารนั้นน้อยลง เพราะสารอาหารจากอินทผาลัมมีส่วนช่วยในการลดความอยากอาหารได้

จากการทดลองพบว่า อินทผาลัมประกอบไปด้วยสารที่ตระตุ้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในมดลูกสำหรับ สตรีตั้งครรภ์ก่อนคลอด 1 เดือน เพราะมันจะช่วยให้ปากมดลูกขยายเมื่อคลอด และยังลดการหลั่งเลือดในขณะคลอดอีกด้วย (สตรีจะต้องรีบทานเลยน่ะ - ผู้แปล) นักโภชนาการเห็นว่า อินทผาลัมเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับสตรีช่วงตั้งครรภ์และสตรีให้นมบุตร เนื่องจากอินทผาลัมมีส่วนประกอบที่ช่วยในการลดความกดดันของแม่ และเพิ่มน้ำนม และยังช่วยให้ทารกนั้นได้รับสารอาหารนั้นด้วยในการต่อต้านโรคา ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เน้นย้ำถึงความสำคัญของอินททผาลัม และการมีส่วนช่วยเสริมสุขภาพทารกในครรภ์ได้อย่างมีประสิทธภาพ ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ส่งเสริมให้สตรีรับประทาน ทางด้านสถาบันด้านโภชนา ได้แนะนำเด็ก ๆ รับประทานอินทผาลัมเพื่อลดอาการทางประสาท ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ยังแนะนำว่า อินทผาลัมเป็นยาทางใจอีกด้วย ด้านศาสตร์ปัจจุบันรายงานว่า สารอาหารในอินทผาลัมสามารถป้องกันจากโรคาทางระบบทางหายใจได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

อินทผาลัมประกอบไปด้วยสารอาหารทางวิตามิน และแร่ต่าง ๆ เมื่อร่างกายได้รับสารเหล่านั้น หลอดเลือดจะนำสารอาหารไปล่อเลี้ยงจนระดับการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น และส่งผลให้เพิ่มสมรรถภาพในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะอินทผาลัมยังประกอบไปด้วยสารแคลเซียมที่พิ่มความแข็งแรงของกระดูก ทั้งกระดูกอ่อนในเด็กและผู้ใหญ่

อินทผาลัมยังช่วยบำรุงรักษาสายตาในยามค่ำคืนได้อย่างดี ในยุคแรก ๆ นักรบมุสลิมมักพกอินทผาลัมใส่ในกระเป๋าแบบย่ามในการรบ เพราะมันสามารถช่วยในการชูกำลังวังชาได้เป็นอย่างดีเชียวแหละ

ว่ากันว่าท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เคยรับประทานอินทผาลัมกับขนมปังในบางครั้ง ลางทีท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ผสมกับแตงกวา หรือไม่ก็น้ำมันเนย ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) รับประทานอินทผาลัมหลากหลายชนิด แต่ที่ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) โปรดปรานนั้น คงจะเป็นอินทผาลัมชนิด "عَجْوَة (อัจญวะฮ์ - อินทผาลัมชนิดดีเยี่ยม)" ที่มาจากนครมะดีนะฮ์มุเนาวะเราะฮ์.

บริจาคแม้ผลอินทผลัม ช่วยป้องกันตัวเองจากนรก

(من إستطاع منكم أن يستتر من النار ولو بشق تمرة فليفعل) متفق عليه
"ใครก็ตามที่สามารถปกป้องตัวเองให้พ้นจากนรก ถึงแม้ว่า(บริจาค)ด้วยครึ่งเม็ดอินทผลัม ก็จงทำ" (อัลหะดีษ)

“แท้จริงในอินทผลัมมีคุณประโยชน์ 9 ประการ คือ
(1) จะทำลายเชื้อโรค
(2) บำรุงกระดูกสันหลัง
(3) เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
(4) บำรุงหูและสายตา
(5) ทำให้เข้าใกล้ชิดอัลลอฮฺ
(6) ทำให้ออกห่างจากมารร้าย
(7) ช่วยย่อยอาหาร
(8) ขจัดโรคภัยไข้เจ็บ
(9) ทำให้ปากมีกลิ่นหอม”

อินทผลัม (อ่านว่า อินทะผะลำ) เป็นชื่อปาล์มชนิด Phoenix dactylifera Linn ในวงศ์ Plamae ผลกินได้ ภาษาปากมักเรียกว่า อินทผาลัม ในภาษาอาหรับ เรียกว่า อันนัคลุ้ (اَلنَّخْلُ ) หรือ อันนะคีลฺ (اَلنَّخِيْلُ ) เป็นไม้ยืนต้นชอบขึ้นในเขตร้อน มีลำต้นตั้งตรงและยาว มีผลออกเป็นทะลาย ผลของมันมีรสชาติอร่อย ใช้ทำแยมและบางชนิดใช้หมัก เรียกว่า นะบีซฺ อัลบะละฮฺ (نَبِيْذُاَلْبَلَحِ ) นักภาษาศาสตร์บอกว่า เหตุที่เรียกอินทผลัมว่า อันนะคีล เพราะมันมีรากศัพท์มาจากคำว่า นัคลฺ (نَخْلٌ ) ซึ่งหมายถึง คัดเลือก กลั่นกรอง เพราะอินทผลัมจัดเป็นพืชยืนต้นที่มีเกียรติที่สุดในประดาพืชยืนต้นด้วยกัน

ในคัมภีร์อัลกุรอาน ได้กล่าวถึงเรื่องของอินทผลัมเอาไว้หลายแห่งและหลายรูปคำ กล่าวคือ ใช้คำว่า “อันนัคลุ้” (اَلنَّخْلُ ) 10 แห่ง และใช้คำว่า “นัคลัน” (نَخْلاً ) 1 แห่งในบทอะบะสะ อายะฮฺที่ 29, และใช้คำว่า “อันนัคละฮฺ” (اَلنَّخْلَةُ ) 2 แห่งคือในบทมัรยัม อายะฮฺที่ 23 และ 25, และใช้คำว่า “นะคีล” (نَخِيْل ) 7 แห่งด้วยกัน รวม 20 แห่ง

อินทผลัมมีหลายสายพันธุ์และผลอินทผลัมก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น อัลบะละฮฺ (اَلْبَلَحُ ) ซึ่งเป็นผลอินทผลัมช่วงก่อนสุก เมื่อเริ่มเข้าสีเรียกว่า อัลบุสรุ้ (اَلْبُسْرُ ) พอเริ่มสุกเรียกว่า อัรรุฏ่อบุ้ (الرُّطَبُ ) ส่วนอินทผลัมแห้งอย่างที่วางขายทั่วไปนั้นเรียกว่า ตัมรฺ (تَمْرٌ ) ส่วนหนึ่งจากสายพันธุ์ของอินทผลัม คือ ซุกกะรีย์ (سُكَّرِي ) และอัจญ์วะฮฺ (عَجْوَة ) เป็นต้น (1)

อัจวะฮฺ
(عَجْوَةٌ ) หมายถึง อินทผลัมชนิดหนึ่ง ที่ดีที่สุดของเมืองมะดีนะฮฺ
มีรสชาติอร่อย ไม่หวานมาก มีประโยชน์ต่อร่างกายและเป็นยารักษาโรคได้

รายงานจากท่านซะอฺด บินอะบีวักกอส รอฎอยัลลอฮุอันฮุ ว่าแท้จริง ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“ผู้ใดรับประทานอินทผลัมอัจวะฮฺ 7 เม็ดในยามเช้า พิษต่างๆและไสยศาสตร์ไม่สามารถทำอันตรายแก่เขาได้ในวันนั้น”

บันทึกโดยบุคอรี 10/203 บทว่าด้วยการแพทย์

มุสลิม 2047 บทว่าด้วยความประเสริฐของอินทผลัมมะดีนะฮฺ

รายงานจากท่าน อบีสะอีด ว่า ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“อินทผลัมอัจวะฮฺ นั้นมาจากสวนสวรรค์ และมันเป็นยาบำบัดพิษต่างๆ”

บันทึกโดย อันนะซาอี และอิบนุมาญะฮฺ

อัจวะฮฺนั้น สามารถรักษาโรคได้ดังนี้
1. ทำให้ร่างกายแข็งแรง พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ ถ้ารับประทานประจำ
2. ป้องกันไสยศาสตร์ โดยรับประทานวันละ 7 เม็ด
3. รักษาพิษต่างๆ โดยรับประทานวันละ 7 เม็ด

คุณค่าที่ได้รับจากอัจวะฮฺ
ท่านนบีมุฮัมมัด
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม รับประทานอัจวะฮฺทุกวัน วันละ 7 เม็ด
และท่านยืนยันว่า มันป้องกันไสยศาสตร์และพิษต่างๆได้
ดวยการอนุมัติของอัลลอฮฺ ที่มีต่อประชาชาติของท่าน นบีมุฮัมมัด
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

อินทผลัมสด
คือ อินทผลัมทุกชนิด ผลของมันครึ่งดิบครึ่งสุก รสชาติของมัน หวานปนฝาด
แต่อร่อยมาก ปัจจุบัน มันถูกนำมาแช่ตู้เย็นไว้ เพื่อจะได้มีทานทั้งปี
ถึงแม้จะไม่ใช่ฤดูกาลของมันก็ตาม

อัลลอฮฺทรงตัสกับมัรยัมว่า

وَهُزِّي إِلَيْكِ بِجِذْعِ النَّخْلَةِ تُسَاقِطْ عَلَيْكِ رُطَبًا جَنِيًّا ( 25 )
“และเธอ(มัรฺยัม)จงเขย่าต้นอินทผลัม ให้มันเอนมาทางตัวเธอ มันจะหล่นลงมาที่ตัวเธอเป็นอินทผลัมที่สดและสุกน่ากิน” (ซูเราะฮฺ มัรยัม อายะฮฺที่ 25)

อนัสกล่าวว่า “ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยละศีลอดด้วยอินทผลัมสด 2-3 เม็ด
ก่อนที่ท่านจะทำการละหมาด ดังนั้นถ้าไม่มีอินทผลัมสด
ท่านก็รับประทานอินทผลัมแห้ง 2-3 ผล ถ้าไม่มีอินทผลัมแห้งท่านจะดื่มน้ำ
2-3 อึกแทน ”

คุณค่าที่ได้รับจากอินทผลัมสด
ท่านร่อซูลจะละศีลอดด้วยกับอินทผลัมสด
โดยท่านให้เหตุผลว่า
การถือศีลอดนั้นทำให้กระเพาะอาหารปราศจากอาหารเมื่อเรากินทผลัมสดเข้าไป
จะทำให้ความหวานของมันไปหล่อเลี้ยงตับ
และอวัยวะต่างๆของร่างกายให้กลับมาชุ่มชื่นขึ้น และตามด้วยอาหารต่างๆ
ที่ร่างกายต้องการ นับเป็นความเมตตาของอัลลอฮฺ และวงการแพทย์วินัจฉัยว่า
อินทผลัมทุกชนิดมีโปตัสเซียมสูงมาก และมีประโยชน์ต่อร่างกาย (2)

.............................................................................................................
1แชร์

การครองชีวิตคู่



ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

 

       มวลการสรรเสริญทั้งหลายเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความศานติและความจำเริญจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและเราะสูลของพระองค์

 
        สิ่งหนึ่งที่ศาสนาอิสลามให้ความสำคัญเป็นอย่างมากคือครอบครัว ทั้งยามที่อยู่ในบ้านและอยู่นอกบ้าน พื้นฐานของครอบครัวนั้นประกอบจากสามีและภรรยา ซึ่งศาสนาอิสลามได้กำหนดบทบัญญัติและขอบเขตต่าง ๆ ที่คู่สามีภรรยาจะต้องดำรงไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งจะนำไปสู่ความสงบสุขในสังคมนั่นเอง ดังนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงสิ่งสำคัญบางประการที่จะนำคู่สามีภรรยาไปสู่การครองชีวิต คู่ให้เติบโตอยู่อย่างมั่นคง

 
ประการแรก อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงสร้างสตรีมาจากบุรุษเพื่อให้เขาเคียงคู่กับนาง พระองค์ตรัสว่า
 
“มนุษยชาติทั้งหลาย จงยำเกรงพระเจ้าของพวกเจ้าผู้ทรงบังเกิดพวกเจ้ามาจากชีวิตหนึ่ง (อาดัม) และได้ทรงบังเกิดจากชีวิตนั้นซึ่งคู่ครองของเขา” 
 
(อันนิสาอ์: 1)

 
       อิบนุกะษีร กล่าวว่า “และ พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงสร้างคู่ครองของชีวิตนั้น คือหะวา อะลัยฮัสสลาม ขึ้นจากชีวิตนั้นเอง กล่าวคือ นางถูกสร้างจากกระดูกซี่โครงด้านซ้ายส่วนหลังของอาดัมในขณะที่ท่านนอนหลับ ครั้นเมื่อท่านตื่นขึ้นมาพบนาง ท่านก็แปลกใจในตัวนาง จากนั้นไม่นานท่านก็มีใจให้นาง และนางก็มีใจให้ท่านเช่นกัน” 
 
(ตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 3 หน้า 333)

 
มีรายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า 
 
         “ท่านทั้งหลายจงปฏิบัติตามคำสั่งเสียของฉันเกี่ยวกับบรรดาสตรี แท้จริงสตรีนั้นถูกสร้างมาจากกระดูกซี่โครง และส่วนที่คดงอที่สุดของซี่โครงนั้นคือส่วนบนของมัน" 
 
(บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 3331 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1468)


 
ประการที่สอง คือ พระองค์อัลลอฮฺทรงทำให้สตรีนั้นเป็นที่พักพิงของบุรุษ พระองค์ตรัสว่า
 
        “พระองค์นั้นคือผู้ที่ได้ทรงบังเกิดพวกเจ้าจากชีวิตเดียว และได้ทรงให้มีขึ้นจากชีวิตนั้นซึ่งคู่ครองของชีวิตนั้นเพื่อชีวิตนั้นจะได้ มีความสงบสุขกับนาง” 
(อัลอะอฺรอฟ: 189)
       หากมนุษย์เราใช้บ้านหรือที่พักอาศัยเพื่อปกปิดร่างกาย และเพื่อป้องกันพวกเขาในยามร้อนและหนาว เช่นเดียวกันนี้ ภรรยาก็เป็นเหมือนที่พำนักของสามี เพื่อให้เขาเกิดความมั่นใจเมื่อมีนาง และรู้สึกอบอุ่นและสบายใจเมื่ออยู่ใกล้นาง


       ประการที่สาม  คือ สามีและภรรยานั้นปกปิดและ ป้องกันซึ่งกันและกัน ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ทรงกล่าวเปรียบเทียบสามีภรรยาไว้ โดยพระองค์ตรัสว่า
“นางทั้งหลายนั้นคือเครื่องนุ่มห่มของพวกเจ้า และพวกเจ้าก็คือเครื่องนุ่งห่มของพวกนาง” 
(อัลบะเกาะเราะฮฺ: 187) 

       ประการที่สี่  คือ สามีจะต้องให้เกียรติสตรี และไม่ดูถูกเหยียดหยามพวกนาง อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงสั่งใช้ให้สามีจัดหาที่พักอาศัย อาหาร และเครื่องนุ่งห่มแก่นางในลักษณะเดียวกับที่ตนมี พระองค์ตรัสว่า
 “จงให้พวกนางพำนักอยู่ ณ ที่พวกเจ้าพำนักอยู่ตามฐานะของพวกเจ้า”
 (อัฏเฏาะลาก : 6)
       เมื่อมุอาวิยะฮฺ อิบนฺ หัยดะฮฺ ได้ถามท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เกี่ยวกับสิทธิของภรรยาที่พึงได้รับจากสามี ท่านกล่าวว่า
        “ท่านจะต้องให้อาหารแก่นางเมื่อท่านรับประทานอาหาร ให้เครื่องนุ่มห่มแก่นางเมื่อท่านสวมใส่เครื่องนุ่งห่ม อย่าตบหน้านาง อย่าด่าทอนาง และอย่าทิ้งนางไว้ลำพังนอกบ้าน” 
(บันทึกโดยอบูดาวุด หะดีษเลขที่ 2142 )

ประการที่ห้า  คือ สามีภรรยาจะต้องมีความรักความเมตตาซึ่งกันและกัน อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
          “และหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์คือ ทรงสร้างคู่ครองให้แก่พวกเจ้าจากตัวของพวกเจ้า เพื่อพวกเจ้าจะได้มีความสุขอยู่กับนาง และทรงให้มีความรักใคร่และความเมตตาระหว่างพวกเจ้า แท้จริงสิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นสัญญาณแก่หมู่ชนผู้ใคร่ครวญ” 
(อัรรูม : 21)

อบุล อัสวัด อัดดุอะลีย์ กล่าวว่า

  خُذِي العَفْـوَ مِنِّي تَسْتَـدِيْمِي مَوَدَّتِي وَلا تَنْطِقِي فِي سَوْرَتي حِينَ أَغْضَب
 
  فَإِنِّي رَأَيتُ الحُبَّ فِي الصَدْرِ وَالأذَى إِذَا اجْتَمَعَا لَمْ يَلْبَث الحُبُّ يَذْهَب   
 

เธอจงอภัยให้แก่ฉันเพื่อที่รักเราจะได้ยืนยาว   อย่าได้พูดในสิ่งที่ฉันไม่ชอบขณะที่ฉันกำลังโกรธ
 
เพราะความรักกับความขุ่นเคืองไม่พอใจนั้น   หากมีอยู่ด้วยกันไม่นานความรักก็คงจางหายไป

        ส่วนหนึ่งจากแนวทางการปฏิรูปชีวิตการแต่งงานคือ สิทธิและหน้าที่ที่สามีภรรยาพึงปฏิบัติต่อกันนั้นจะต้องมีพื้นฐานจากขนบ ธรรมเนียม มารยาทอันดีงาม และความชอบธรรม อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
 “และจงอยู่ร่วมกับพวกนางด้วยดี” 
(อันนิสาอ์: 19)
ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่ ฮินดฺ บินติ อุตบะฮฺ ว่า

“เธอจงนำสิ่งที่พอเพียงจะยังชีพเธอ และลูกของเธอไปด้วยความชอบธรรม” 

(บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 5264 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1714)
        อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ทรงระบุสิทธิที่ภรรยาพึงมีต่อสามีไว้ว่า นางจะได้รับการปฏิบัติจากสามี เช่นที่นางปฏิบัติต่อเขา โดยที่พระองค์ได้เจาะจงสิทธิของสามีซึ่งจะได้รับมากกว่าภรรยาขั้นหนึ่ง ดังที่พระองค์ตรัสไว้ในอายะฮฺที่ว่า

“และพวกนางนั้นจะได้รับการปฏิบัติ (จากสามี) เหมือนดังที่นางปฏิบัติ (ต่อสามี) โดยชอบธรรม และสำหรับบรรดาชายนั้นมีฐานะเหนือพวกนางขั้นหนึ่ง”
 (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 228) 
พระองค์ได้ทรงอธิบายหนึ่งขั้นดังกล่าวในอีกอายะฮฺหนึ่ง พระองค์ตรัสว่า

 “บรรดาชายนั้นคือผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองเลี้ยงดูบรรดาหญิง
เนื่องด้วยการที่อัลลอฮฺได้ทรงให้บางคนของพวกเขาเหนือกว่าอีกบางคน และด้วยการที่พวกเขาได้จ่ายไปจากทรัพย์ของพวกเขา” 
(อันนิสาอฺ : 34)


แปลโดย : ฟารีด พุกมะหะหมัด

ความผิดที่มักเกิดขึ้นกับผู้หญิง


โดย... อ.อับดุลการีม (อรุณ)  วันแอเลาะ

 
        ความผิดที่เกิดขึ้นจากผู้หญิงนั้น บางครั้งเกิดจากความไม่รู้ หรือทำเป็นไม่รู้ บางครั้งเกิดจากการตามกระแสค่านิยม ซึ่งเมื่อทำเหมือนชนกลุ่มใดก็จะเป็นดังเช่นชนกลุ่มนั้น บางครั้งเกิดจากการดื้อดึง การทรยศ ทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นความผิด และไม่เป็นที่ต้องสงสัยเลยว่า ดังที่กล่าวมานั้น ล้วนเป็นสาเหตุก่อให้เกิดวิกฤติและความเสียหายนานัปการ เช่น ก่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันในครอบครัว การแตกแยกไม่สนใจซึ่งกันและกันในหมู่ญาติมิตร

 
ความผิดที่มักเกิดขึ้นกับผู้หญิง ได้แก่

 
          1) ความผิดที่เกิดจากความเชื่อ การไปหาหมอมายากล หมอคาถาอาคม หมอเวทมนต์ หมอทำนาย หมอดู ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย มักจะไปขอใช้บริการในตอนที่มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือต้องการให้สามีรัก ทั้งหมดเหล่านี้ เป็นสิ่งฮะรอม (เป็นสิ่งต้องห้าม) ทั้งสิ้น จนบางครั้งเลยเถิดถึงขั้น ชิริก(ตกศาสนา) นบี มุฮัมหมัด ได้กล่าวว่า
 
“ใครมาหาหมอดูแล้วถามสิ่งใดๆ จากหมอดู ละหมาดของเขาจะไม่ได้การยอมรับถึง 40 วัน”
 
(รายงานโดยมุสลิม)

          2) ไม่เชื่อฟังบิดามารดา ทรยศต่อบิดามารดา ด้วยการส่งเสียงดังต่อหน้าท่าน (ใส่หน้าท่าน) ตะคอกท่าน ด่าทอ หรือ ไม่เชื่อฟังคำแนะนำของท่าน อัลลอฮฺ ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า
“ท่านอย่าได้พูดกับท่านทั้งสองด้วยถ้อยคำที่ไม่ดี และอย่าได้ตะคอกท่านทั้งสอง แต่จงพูดจากับท่านทั้งสองด้วยคำพูดที่ดี”
(อัลอิสรออฺ: 23)

3) ไม่ตักเตือนกันให้ทำความดี และห้ามปรามความชั่วในหมู่พวกเธอ อัลลอฮฺ  ได้กล่าวไว้ในอัลกุรอานว่า
         “บรรดามุอฺมินชายและมุอฺมินหญิงนั้น บางส่วนของพวกเขาต่างเป็นผู้ช่วยเหลืออีกบางส่วน ซึ่งพวกเขาจะใช้ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ดี และห้ามปรามในสิ่งที่ไม่ดี และพวกเขาจะดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และจ่ายซะกาต และภักดีต่ออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ ชนเหล่านี้แหละ อัลลอฮฺทรงเอ็นดูเมตตาแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปริชาญาณ”
 
(อัตเตาบะฮฺ: 71)

4) นั่งพูดคุย นินทากัน ใส่ร้ายกัน บางครั้งพูดถึงอัลลอฮฺ  โดยไม่มีความรู้

5) ทอดสายตามองสิ่งต้องห้าม เช่น มองผู้ชาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้าใจกันว่า ห้ามผู้ชายเท่านั้นไปเกี่ยวกับผู้หญิง แท้จริง อัลลอฮฺ  ได้ตรัสความว่า
“และจงกล่าวเถิดมุฮัมหมัด แก่บรรดามุมินะฮฺให้เธอลดสายตาของพวกเธอลงต่ำ และให้พวกเธอรักษาอวัยวะเพศของพวกเธอ”
(อันนูร: 31)
หมายถึง การมองผู้ชายโดยตรง หรือมองผ่านโทรทัศน์ หรือนิตยสาร อันเป็นเหตุให้เกิดชะอฺวัต หรือก่อให้เกิดฟิตนะฮฺ

6) การมองผู้หญิงด้วยกันเอง แล้วนำไปบอก บรรยายคุณลักษณะรูปร่างหน้าตาให้กับผู้อื่นฟังจนเหมือนกับได้เห็นเอง

7) ผู้หญิงทำตัวเหมือนผู้ชาย ไม่ว่าด้วยเครื่องแต่งกายหรือท่าทาง หรือคำพูด ท่านรอซูล  กล่าวว่า
“อัล ลอฮฺทรงกริ้ว (สาปแช่ง) ผู้ชายที่สวมใส่เสื้อผ้าผู้หญิง และผู้หญิงที่สวมใส่เสื้อผ้าผู้ชาย และกล่าวว่า อัลลอฮฺทรงกริ้วผู้หญิงที่ทำตัวเหมือนผู้ชาย”
(รายงานโดยอบูดาวูด)

8) ทำสิ่งที่ต้องห้ามอันเป็นเหตุให้อัลลอฮฺกริ้ว ท่านรอซูล  กล่าวว่า
         “อัลลอฮฺทรงกริ้วผู้หญิงที่สักบนผิวหนัง และผู้ที่ทำการสัก และบรรดาผู้หญิงที่ถอนขนหรือกันผม และผู้ที่ทำการถอนขนคิ้ว และผู้หญิงที่แต่งฟัน (ผู้ที่ทำการจัดฟันเพื่อความสวยงาม) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอัลลอฮฺ และทรงกริ้วผู้หญิงที่ทำการเติมต่อผม ”
(มุนตะฟะกุนอะลัยฮิ)

9) กระทำในสิ่งที่เกิดริบา (ดอกเบี้ย) การปล่อยเงินกู้ หรือการกู้เงิน

         10) เสีย เวลาไปกับสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ซึ่งพบว่า สตรีบางคนเสียเวลาอยู่กับหน้ากระจก หรือพูดมากโดยไร้ประโยชน์ ไร้สาระ เช่น พูดโทรศัพท์กับเพื่อนๆ ของนาง อัลลอฮฺ  ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า
“ไม่ มีความดีใดๆ ในการพูดซุบซิบอันมากมายของพวกเขา นอกจากผู้ที่ใช้ให้ทำทาน หรือให้ทำสิ่งที่ดีงาม หรือให้ประนีประนอมระหว่างผู้คนเท่านั้น”
(อันนิชาอฺ: 114)

11) นิยมทำตนเป็นหญิงไฮโซ อวดร่ำอวดรวย ใช้เสื้อผ้าราคาแพง หรือทะนงตนในความสวยงามที่อัลลอฮฺ  ได้มอบให้กับเธอ ท่านรอซูล  กล่าวว่า
“จะไม่ได้เข้าสวรรค์ สำหรับผู้ที่หัวใจของเขามีความยโสแม้เพียงนิดเดียว”
(รายงานโดยมุสลิม)

12) ดัดเสียงพูดกับผู้ชาย ซึ่งมักจะเกิดขึ้นมากในการพูดจาทางโทรศัพท์ อัลลอฮฺ  ตรัสความว่า
         “โอ้บรรดาภริยาของนบีเอ๋ย พวกเธอไม่เหมือนกับสตรีใดๆ ในเหล่าสตรีอื่น หากพวกเธอยำเกรงอัลลอฮฺ ก็ไม่ควรพูดจาเพราะพริ้งนัก เพราะจะทำให้ผู้ที่หัวใจของเขามีโรค เกิดความโลภ แต่จงพูดด้วยถ้อยคำที่พอเหมาะพอควร”
(อัลอะซาบ: 32)

          13) ไม่เตรียมเสบียงในการยำเกรง ซึ่งมีผู้หญิงจำนวนมากไม่สนใจอ่านอัลกุรอาน นอกจากเดือนรอมฎอนเท่านั้น และบางคนก็ไม่เคยละหมาดวิเตร ละหมาดดุฮา และไม่สนใจต่อการละหมาดรอวาติบ


14) ใส่ใจติดตามดูละคร ดูทีวี ดูนิตยสาร ดูวีดิโอ และเสียงเพลง เป็นประจำจนเป็นเรื่องปกติ

15) มีจำนวนไม่น้อยที่ย้อมผมให้เป็นสีต่างๆ เลียนแบบต่างศาสนิก

         16) ขัดขืน ไม่ทำของที่เป็น “ซุนานุนฟิตเราะฮฺ” เช่น ไม่ตัดเล็บ ผู้หญิงบางคนทาเล็บเป็นสี ซึ่งจะทำให้น้ำไม่สามารถเข้าสู่เล็บได้ เป็นเหตุให้อาบน้ำ หรือเอาน้ำละหมาดใช้ไม่ได้ เป็นเหตุให้การละหมาดใช้ไม่ได้


17) แสดงความรัก ความนิยมต่อเรื่องบางอย่างที่ขัดกับหลักคำสอนของอิสลาม

18) เลือกคบหาแต่เพื่อนเลวๆ นำพาให้เบาความในเรื่องของศาสนา ละเลยต่อการรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของตนเองและครอบครัว

19) เผยแพร่ข้อความ หรือรูปภาพที่ทำให้ผู้ชายเกิดอารมณ์ ลงในเฟสบุค หรือเว็บไซต์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ

20) สัมผัสมือกับผู้ชายที่ไม่ใช่มะหรอม(แต่งงานกันได้)

21) มีความอิจฉาริษยา ดูถูกดูแคลนต่อมุสลิมและมุสลิมะฮฺ โดยเฉพาะต่อผู้ที่เคร่งครัดในศาสนา

22) ผู้หญิงบางคนเชื่อในเรื่องโชคลาง เช่น เชื่อในเรื่องวัน เวลา สี หรือการกระทำของนก และสัตว์อื่นๆ

23) ผู้หญิงบางคนเฉลิมฉลองวันสำคัญที่เป็นอุตริกรรม เช่น วันเกิดลูก วันเกิดสามี วันเกิดภรรยา วันขึ้นปีใหม่ ฯลฯ




ที่มา : สมาคมคุรุสัมพันธ์อิสลามแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

สิทธิและหน้าที่ผู้เป็นภรรยา


ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

 
         สิทธิและหน้าที่ที่สามีภรรยาพึงปฏิบัติต่อกันนั้นจะต้องมีพื้นฐานจากขนบ ธรรมเนียม มารยาทอันดีงาม และความชอบธรรม ทั้งนี้ศาสนาอิสลามยังได้บัญญัติหน้าที่ต่าง ๆ ที่ผู้เป็นภรรยาจำเป็นจะต้องเอาใจใส่และปฏิบัติตาม อาทิ


 
        ♥ หนึ่ง ภรรยาต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามสามีในสิ่งที่ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ อัลลอฮฺ ตะอาลาตรัสว่า
 
“และบรรดากุลสตรีนั้นคือผู้จงรักภักดี ผู้รักษาความลับด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺทรงรักษาไว้”
 
 “หากว่านางเชื่อฟังเชื่อฟังเจ้าแล้วก็จงอย่าหาทางเอาเรื่องแก่นาง”
 
 (อันนิสาอ์: 34) 

 
มีบันทึกจากรายงานโดยอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

          “เมื่อชายคนหนึ่งได้ชักชวนภรรยาของเขาให้ร่วมหลับนอนด้วยแล้วนางปฏิเสธ แล้วเขาก็หลับไปอย่างขุ่นเคือง บรรดา มลาอิกะฮฺจะสาปแช่งนางจนกระทั่งรุ่งเช้า” 
(บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 3237 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1436)
และในอีกรายงานหนึ่งระบุว่า 
         “ขอสาบานต่อผู้ซึ่งชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า ไม่มีชายคนใดชักชวนภรรยาของเขาให้ร่วมหลับนอนกับเขาแล้วนางปฏิเสธเขา เว้นแต่ผู้ที่อยู่บนชั้นฟ้าจะโกรธกริ้วนางจนกว่าสามีของนางจะกลับมาพอใจ นาง” 
(บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1436)
มีบันทึกจากอับดุลลอฮฺ อิบนฺ อบีเอาฟา ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
“หากฉันสามารถสั่งให้คนหนึ่งสุญูดให้อีกคนหนึ่งได้ ฉันก็จะสั่งให้ภรรยาสุญูดให้สามีของนาง
และสตรีคนหนึ่งจะยังไม่ปฏิบัติหน้าที่ของนางต่ออัลลอฮฺอย่างสมบูรณ์ได้
จนกว่านางจะปฏิบัติหน้าที่ของนางต่อสามีของนางอย่างสมบูรณ์เสียก่อน
แม้หากว่าสามีของนางเรียกร้องที่จะร่วมหลับนอนกับนางในขณะที่นางกำลังคลอดบุตรอยู่ นางก็จะต้องปฏิบัติตามเขา”
 
 (บันทึกโดย อิมามอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 19403) 
         อีกรายงานหนึ่งจากอับดุรเราะหฺมาน อิบนฺ เอาฟฺ ซึ่งบันทึกโดยอิมามอะหฺมัด ระบุว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

         “เมื่อสตรีคนหนึ่งทำการละหมาดครบห้าเวลา ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน รักษาอวัยวะเพศของนาง และเชื่อฟังปฏิบัติตามสามีของนาง จะมีเสียงกล่าวแก่นางว่า เธอจงเข้าสวนสวรรค์ทางประตูใดก็ได้ที่เธอประสงค์” 
(มุสนัด อิมามอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 1661)

          ♥ สอง ภรรยา จะต้องมีความรักความเสน่หาต่อสามี คอยสอดส่อง ปรนนิบัติรับใช้สามี และอบรมเลี้ยงดูลูก ๆ ดังมีหะดีษรายงานโดยอับดุลลอฮฺ อิบนฺ อัมรฺ ระบุว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

“ดุนยาคือความสุขชั่วคราว และความสุขชั่วคราวที่ดีที่สุดในดุนยาก็คือภรรยาที่เป็นกุลสตรี” 
(บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1467)
        คุณลักษณะของกุลสตรีนั้น ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวไว้ในอีกหะดีษหนึ่ง ซึ่งรายงานโดย อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า 
มีคนถามท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า “สตรีใดถือว่าประเสริฐที่สุด ?”
       ท่านเราะสูล ตอบว่า “คือ สตรีที่ทำให้สามีสุขใจเมื่อได้มองนาง เมื่อสามีบอกกล่าวอะไรก็เชื่อฟังและปฏิบัติตาม และไม่ขัดใจสามี ทั้งด้วยตัวของนางและทรัพย์สินของนาง”
 (บันทึกโดยอันนะสาอีย์ หะดีษเลขที่ 1231)
และมีรายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
“ไม่อนุญาตให้สตรีคนใดถือศีลอดในขณะที่สามีอยู่กับนาง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสามีเสียก่อน
และไม่อนุญาตให้สตรีอนุญาตให้ใครเข้าบ้านเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสามีเสียก่อน” 
 
(บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 5195 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1026) 
อันนะวะวีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า 
        “เหตุที่ไม่อนุญาตแก่สตรีในเรื่องดังกล่าวนั้นคือ สามีมีสิทธิ์จะหาความสุขกับภรรยาได้ทุก ๆ วัน ซึ่งสิทธิ์ของสามีนั้นจำเป็น (วาญิบ) แก่ภรรยาจะต้องปฏิบัติตามโดยทันที ไม่สามารถปล่อยทิ้งไว้เพื่อไปทำสิ่งที่เป็นสุนัต หรือสิ่งจำเป็น (วาญิบ) อื่นที่สามารถกระทำในคราวหลังได้” 
(ชัรหฺ เศาะฮีหฺมุสลิม เล่ม 3 หน้า 115)
         อุมมุลมุอ์มินีน ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ก็เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องดังกล่าว เมื่อนางประวิงการถือศีลอดใช้ของเราะมะฎอนปีก่อน กระทั่งเวลาล่วงเลยถึงเดือนชะอฺบานปีถัดไป โดยนางให้เหตุผลว่า

 “ฉันต้องวุ่นอยู่กับการปรนนิบัติท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม” 
(บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 1950 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1146)
         ♥ สาม ภรรยา จะต้องรักนวลสงวนตัว และพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้สามีเกิดความสงสัยในตัวของนาง ดังมีบันทึกรายงานจากอัมรฺ อิบนุลอะหฺวัศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวในคุฏบะฮฺเมื่อตอนทำหัจญ์อำลา (หัจญะตุลวะดาอฺ) ว่า

         “สิทธิของภรรยาของพวกเจ้าพึงมีต่อพวกเจ้าคือ นางจะต้องไม่ให้ใครก็ตามที่พวกเจ้ารังเกียจขึ้นไปอยู่บนที่นอนของพวกเจ้า และจะต้องไม่อนุญาตให้ใครก็ตามที่เจ้ารังเกียจเข้าไปในบ้านของพวกเจ้า” 
(บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หะดีษเลขที่ 1163)

         ♥ สี่ ภรรยา นั้นจะไม่ออกนอกบ้านเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสามีแม้กระทั่งออกไปมัสญิด ดังมีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
“เมื่อภรรยาของพวกท่านขออนุญาตออกไปมัสญิดในยามกลางคืน พวกท่านก็จงอนุญาตเถิด” 
(บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 865 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 442)
อิบนุ หะญัร ได้ถ่ายทอดคำพูดของอันนะวะวีย์ซึ่งให้คำอธิบายหะดีษบทนี้ว่า 
       “บางคนใช้หะดีษนี้เป็นหลักฐานว่า สตรีนั้นจะต้องไม่ออกนอกบ้านสามีของนาง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเขาเสียก่อน ตามที่ในหะดีษมีคำสั่งแก่บรรดาสามีว่าให้อนุญาตแก่ภรรยา ให้นางออกไปมัสยิดในยามกลางคืน” 
(ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 2 หน้า 347-348)
จากหะดีษของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม
“ท่านทั้งหลายจงปฏิบัติตามคำสั่งเสียของฉันเกี่ยวกับบรรดาภรรยา เพราะนางทั้งหลายนั้นเปรียบเสมือนเชลยศึกสำหรับพวกท่าน” 
(อัตติรมีซีย์ หะดีษเลขที่ 1163)
ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมิยะฮฺ ได้อธิบายหะดีษดังกล่าวว่า 

       “สำหรับสามีนั้น ภรรยามีลักษณะบางส่วนคล้ายกับทาสหรือเชลยศึก คือนางไม่สามารถออกจากบ้านไปไหนได้เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเขาเสียก่อน แม้ว่าจะเป็นคำสั่งของบิดาหรือมารดาของนางหรือคนอื่น ๆ ก็ตาม ซึ่งในประเด็นนี้อุละมาอ์มีความเห็นตรงกันอย่างเป็นเอกฉันท์” 
(มัจมูอฺ อัลฟะตาวา เล่ม 32 หน้า 263) 



แปลโดย : ฟารีด พุกมะหะหมัด