แบบใหนกันที่เราเรียกว่า... รั ก แ ท้ ...

รูปภาพ : ‎แบบใหนกันที่เราเรียกว่า... รั ก แ ท้ ... 

ภาพความรักของพระเอกนางเอกในละครตอนจบ ดูช่างสวยงามเป็นที่ใฝ่ฝันของใครหลายๆ คน คงมีคนจำนวนน้อยนัก ที่ไม่คาดหวังชีวิตรักที่ประสบความสำเร็จ ภาพที่เรามักพบเห็นในสังคมคือ ชายหญิงเดินเกาะเกี่ยวกันเป็นคู่ แตะเนื้อต้องตัวกันเป็นเรื่องธรรมดา กอดซบกันไม่ใช่เรื่องแปลก ... นี่คือสิ่งที่สะท้อนความเสื่อมถอยของสังคม

แม้แต่ “มุสลิม” ที่ได้ชื่อว่าผู้น้อมรับยอมจำนนต่อคำบัญชาของอัลลอฮฺโดยสิ้นเชิง ก็ยังปล่อยให้ค่านิยมในสังคมที่เสื่อมถอยเข้าแทรกแซงการยึดมั่นปฏิบัติตามหลักการ ... หนุ่มสาวจำนวนมากคบหากันอย่างเลยเถิดก่อนนิกะฮฺ เอาระบบแฟนมาใช้โดยไม่ใยดีความบริสุทธิ์ก่อนแต่งงานที่อิสลามรักษา ... การคุยโทรศัพท์ระหว่างชายหญิงเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่สร้างความจำเป็นขึ้นมาอ้างได้เสมอ ทั้งที่อิสลามมีกรอบ

ขอบเขตวางไว้ชัดเจน ... รูปแบบการทำงานอิสลามไม่แบ่งแยกชายหญิง อ้างว่ากลัวทำให้เครียด ทั้งที่สิ่งนี้คือหลักการของอัลลอฮฺ ... ฯลฯ

“ความรัก” มักถูกแสดงออกด้วยการแบ่งปันความรู้สึกดีๆ ต่อคนรัก มีความสุขเมื่อเขาทำดีและเมื่อมีสิ่งดีประสบกับเขา มีความทุกข์เมื่อเขาทำผิดและเมื่อมีสิ่งเลวร้ายประสบกับเขา ช่วยเหลือและสนับสนุนกันและกันในเรื่องของความดี ตักเตือนห้ามปรามกันและกันในเรื่องของความชั่ว ... เช่นนี้ความรักย่อมเป็นสิ่งดียิ่ง แต่หากสิ่งเหล่านี้ ถูกแสดงออกกับคนที่ไม่หะลาล เวลาที่ไม่หะลาล และรูปแบบที่ไม่หะลาลแล้ว ... ยังจะเรียกว่า “ความรัก” อีกหรือ?

แน่นอนว่าการแสดงความห่วงหาอาทร ระหว่างชายหญิงที่ไม่ใช่มะหฺรอมกันนั้น ไม่ใช่ความรัก ไม่ว่าความห่วงใยกันนั้นจะแสดงออกมาในรูปแบบที่คิดว่าดี เช่น โทรปลุกละหมาดตะฮัจญุด คุยกัน (เป็นว่าเล่น) เพื่อตักเตือนกันเรื่องศาสนา ถามไถ่เรื่องส่วนตัว ทั้งที่ไม่ใช่ธุระ ฯลฯ โดยคิดว่าถ้าเป็นเรื่องศาสนาแล้วล่ะก็ ... ดี ทำได้! ... ทั้งที่เมื่อตัดข้ออ้างเรื่องศาสนาออกไป ก็จะพบว่าไม่ต่างอะไรกับระบบแฟนของคนกาเฟร ยิ่งที่คนแสดงตัวว่ารู้ศาสนา ถ้ารู้ต้องนำมาใช้มิใช่แยกความรู้ออกจากการปฏิบัติ ก็ไม่แตกต่างกับความรู้ที่เป็นเพียงเครื่องประดับ (เพิ่มเติ่ม โดย annisaa.com)

เรามักจะเอาแต่วาดฝันภาพสวยงาม อยากได้สิ่งนั้น อย่างนั้นอย่างนี้ แต่ไม่ค่อยย้อนกลับมามองดูตัวเองว่าสมควรแค่ไหนที่จะได้รับสิ่งเหล่านั้น? ... เราปรารถนาความรักที่สวยงาม แต่กำลังใช้จ่ายความรักไปอย่างเลอะเทอะ ไม่ได้ทะนุถนอมไว้เพื่อแสดงออกในเวลาและต่อบุคคลที่เหมาะสม ... เราปรารถนาคู่ครองที่ดี แต่ไม่ได้ทำอะไรแม้เพียงวิงวอนดุอาอฺอย่างจริงใจต่ออัลลอฮฺ ... เช่นนี้แล้ว ความรักของเราจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร?

رَبَّنَا هَبْ لَنَا مِنْ أَزْوَاجِنَا وَذُرِّيَّاتِنَا قُرَّةَ أَعْيُنٍ وَاجْعَلْنَالِلْمُتَّقِيْنَ إِمَامًا
โอ้พระผู้อภิบาลของเรา ขอทรงโปรดประทานแก่เรา ซึ่งคู่ครองและลูกหลาน ให้เป็นที่รื่นรมแก่สายตาของเรา และขอทรงโปรดให้เรา เป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้ยำเกรง

หากการปฏิบัติของมุสลิม ผู้เป็นประชาชาติตัวอย่าง ยังไม่สะท้อนภาพการยอมจำนนต่อคำบัญชาของอัลลอฮฺอย่างสิ้นเชิง มุสลิมยังไม่เห็นคุณค่าของหลักการ แล้วเราจะเรียกร้องผู้อื่นและนำเสนออิสลามให้เป็นแนวทางแก้ปัญหาแก่ผู้อื่นได้อย่างไร?
.
.
.
.
ญาซากัลลอฮุคอยรอน 

เครดิต โดย : อุมมุ ฮัมซะฮฺ
ที่มา : เว็บบ้านมุสลิมะฮฺที่น่ารัก บทความการเลือกคู่ครอง‎

ภาพความรักของพระเอกนางเอกในละครตอนจบ ดูช่างสวยงามเป็นที่ใฝ่ฝันของใครหลายๆ คน คงมีคนจำนวนน้อยนัก ที่ไม่คาดหวังชีวิตรักที่ประสบความสำเร็จ ภาพที่เรามักพบเห็นในสังคมคือ ชายหญิงเดินเกาะเกี่ยวกันเป็นคู่ แตะเนื้อต้องตัวกันเป็นเรื่องธรรมดา กอดซบกันไม่ใช่เรื่องแปลก ... นี่คือสิ่งที่สะท้อนความเสื่อมถอยของสังคม

แม้แต่ “มุสลิม” ที่ได้ชื่อว่าผู้น้อมรับยอมจำนนต่อคำบัญชาของอัลลอฮฺโดยสิ้นเชิง ก็ยังปล่อยให้ค่านิยมในสังคมที่เสื่อมถอยเข้าแทรกแซงการยึดมั่นปฏิบัติตาม หลักการ ... หนุ่มสาวจำนวนมากคบหากันอย่างเลยเถิดก่อนนิกะฮฺ เอาระบบแฟนมาใช้โดยไม่ใยดีความบริสุทธิ์ก่อนแต่งงานที่อิสลามรักษา ... การคุยโทรศัพท์ระหว่างชายหญิงเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่สร้างความจำเป็นขึ้นมา อ้างได้เสมอ ทั้งที่อิสลามมีกรอบ

ขอบเขตวางไว้ชัดเจน ... รูปแบบการทำงานอิสลามไม่แบ่งแยกชายหญิง อ้างว่ากลัวทำให้เครียด ทั้งที่สิ่งนี้คือหลักการของอัลลอฮฺ ... ฯลฯ

“ความรัก” มักถูกแสดงออกด้วยการแบ่งปันความรู้สึกดีๆ ต่อคนรัก มีความสุขเมื่อเขาทำดีและเมื่อมีสิ่งดีประสบกับเขา มีความทุกข์เมื่อเขาทำผิดและเมื่อมีสิ่งเลวร้ายประสบกับเขา ช่วยเหลือและสนับสนุนกันและกันในเรื่องของความดี ตักเตือนห้ามปรามกันและกันในเรื่องของความชั่ว ... เช่นนี้ความรักย่อมเป็นสิ่งดียิ่ง แต่หากสิ่งเหล่านี้ ถูกแสดงออกกับคนที่ไม่หะลาล เวลาที่ไม่หะลาล และรูปแบบที่ไม่หะลาลแล้ว ... ยังจะเรียกว่า “ความรัก” อีกหรือ?

แน่นอนว่าการแสดงความห่วงหาอาทร ระหว่างชายหญิงที่ไม่ใช่มะหฺรอมกันนั้น ไม่ใช่ความรัก ไม่ว่าความห่วงใยกันนั้นจะแสดงออกมาในรูปแบบที่คิดว่าดี เช่น โทรปลุกละหมาดตะฮัจญุด คุยกัน (เป็นว่าเล่น) เพื่อตักเตือนกันเรื่องศาสนา ถามไถ่เรื่องส่วนตัว ทั้งที่ไม่ใช่ธุระ ฯลฯ โดยคิดว่าถ้าเป็นเรื่องศาสนาแล้วล่ะก็ ... ดี ทำได้! ... ทั้งที่เมื่อตัดข้ออ้างเรื่องศาสนาออกไป ก็จะพบว่าไม่ต่างอะไรกับระบบแฟนของคนกาเฟร ยิ่งที่คนแสดงตัวว่ารู้ศาสนา ถ้ารู้ต้องนำมาใช้มิใช่แยกความรู้ออกจากการปฏิบัติ ก็ไม่แตกต่างกับความรู้ที่เป็นเพียงเครื่องประดับ (เพิ่มเติ่ม โดย annisaa.com)

เรามักจะเอาแต่วาดฝันภาพสวยงาม อยากได้สิ่งนั้น อย่างนั้นอย่างนี้ แต่ไม่ค่อยย้อนกลับมามองดูตัวเองว่าสมควรแค่ไหนที่จะได้รับสิ่งเหล่านั้น? ... เราปรารถนาความรักที่สวยงาม แต่กำลังใช้จ่ายความรักไปอย่างเลอะเทอะ ไม่ได้ทะนุถนอมไว้เพื่อแสดงออกในเวลาและต่อบุคคลที่เหมาะสม ... เราปรารถนาคู่ครองที่ดี แต่ไม่ได้ทำอะไรแม้เพียงวิงวอนดุอาอฺอย่างจริงใจต่ออัลลอฮฺ ... เช่นนี้แล้ว ความรักของเราจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร?

رَبَّنَا هَبْ لَنَا مِنْ أَزْوَاجِنَا وَذُرِّيَّاتِنَا قُرَّةَ أَعْيُنٍ وَاجْعَلْنَالِلْمُتَّقِيْنَ إِمَامًا
โอ้พระผู้อภิบาลของเรา ขอทรงโปรดประทานแก่เรา ซึ่งคู่ครองและลูกหลาน ให้เป็นที่รื่นรมแก่สายตาของเรา และขอทรงโปรดให้เรา เป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้ยำเกรง

หากการปฏิบัติของมุสลิม ผู้เป็นประชาชาติตัวอย่าง ยังไม่สะท้อนภาพการยอมจำนนต่อคำบัญชาของอัลลอฮฺอย่างสิ้นเชิง มุสลิมยังไม่เห็นคุณค่าของหลักการ แล้วเราจะเรียกร้องผู้อื่นและนำเสนออิสลามให้เป็นแนวทางแก้ปัญหาแก่ผู้อื่น ได้อย่างไร?
.
.
.
.
ญาซากัลลอฮุคอยรอน

เครดิต โดย : อุมมุ ฮัมซะฮฺ
ที่มา : เว็บบ้านมุสลิมะฮฺที่น่ารัก บทความการเลือกคู่ครอง

0 ความคิดเห็น: