ประโยชน์ของการรับประทานผลอินทผาลัม

อัลฮัมดุลิลละห์ อินทผลัมค่ะ ตอนยังไม่สุก.

ปกติแล้วมุสลิมจะละศีลอดด้วยการอินทผาลัม ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เคยกล่าวในทำนองที่ว่า "หากในหมู่สูเจ้ามีผู้ถือศีลอด เขาจงละศีลอดด้วยอินทผาลัมเถิด หากไม่มีมัน (อินทผาลัม) จงดื่มน้ำ แท้จริงน้ำนั้นเป็นสิ่งช่วยชำระร่างกาย"

ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เคยละศีลอดด้วยอินทผาลัมก่อนที่ท่านจะละหมาดมัฆริบ บางรายงานเล่าว่า หากไม่มีอินทผาลัมสุก ท่านจะจิบน้ำ 2-3 จิบ ด้านศาสตร์ร่วมสมัยพิสูจน์ให้ประจักษ์แล้วว่า อินทผาลัมเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งประกอบไปด้วยน้ำตาล ไขมัน โปรตีนต่างๆ และวิตามินที่สำคัญอีกหลายชนิด สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้แนะนำ

อินทผาลัมยังมีสายใยอาหารอีกหลายชนิด แพทย์แผนปัจจุบันค้นพบว่า อินทผาลัมมีส่วนช่วยในการป้องกันจากโรคมะเร็งในช่องท้องอย่างมีประสิทธิภาพ อินทผาลัมยังเป็นผลไม้ที่คุณประโยชน์ด้านโภชนาการเหนือผลไม้นานาชนิด ซึ่งส่วนประกอบด้วย น้ำมัน แคลเซียม ซัลเฟอร์ เหล็ก โพเทสเซียม ฟอสฟอรัส แมงกานีส คอพเปอร์ และแมกนีเซียม อาจกล่าวได้ว่า อินทผาลัมเป็นผลไม้ที่ให้ประโยชน์ทางอาหาร ชาวอาหรับมักจะกินอินทผาลัมร่วมกับนม โยเกิร์ต หรือขนมปัง เนยและปลา การร่วมกันดังกล่าวถือเป็นการกินอาหารที่เพียงพอสำหรับสมองและร่างกาย อินทผาลัมถูกกล่าวในอัลกุรอาน 20 ครั้งด้วยกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของมัน ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) มักจะเปรียบเทียบมุสลิมดั่งต้นอินทผาลัม ท่านกล่าวว่า "ในบรรดาต้นไม้นั้น มีต้นไม้ชนิดเดียวที่คล้ายคลึงกับมุสลิม นั่นก็คือ ต้นอินทผาลัม ซึ่งใบของมันจะไม่ร่วง"

พระนางมัรยัม มารดาแห่งเยซู (ท่านนบีอีซา อะลัยฮิสสลาม) ได้รับประทานอินทผาลัมเป็นอาหารเมื่อรู้สึกปวดเมื่อยจาการทำงานและช่วงมี ครรภ์ ดังนั้น อินทผาลัมเป็นอาหารสุดยอดแห่งความหวาน ย่อยสะลายได้ง่าย แค่ใช้เวลา 30 นาที ร่างกายก็จะกลับมากระชุ่มกระชวยอีกครานึง เหตุผลก็คือ การที่เลือดขาดสารน้ำตาลจึงทำให้รู้สึกหิว และจะไม่ทำให้ท้องว่างเมื่อทานอินทผาลัม ร่างกายจะได้รับสารอาหารสัมคัญแม้กินแค่ 2-3 เม็ด ความรู้สึกหิวจะทุเลาลง เมื่อคน ๆ หนึ่งละศีลอดด้วยการกินอินทผาลัมก่อนการรับประทานอาหารอื่น ๆ เขาก็จะรับประทานอาหารนั้นน้อยลง เพราะสารอาหารจากอินทผาลัมมีส่วนช่วยในการลดความอยากอาหารได้

จากการทดลองพบว่า อินทผาลัมประกอบไปด้วยสารที่ตระตุ้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในมดลูกสำหรับ สตรีตั้งครรภ์ก่อนคลอด 1 เดือน เพราะมันจะช่วยให้ปากมดลูกขยายเมื่อคลอด และยังลดการหลั่งเลือดในขณะคลอดอีกด้วย (สตรีจะต้องรีบทานเลยน่ะ - ผู้แปล) นักโภชนาการเห็นว่า อินทผาลัมเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับสตรีช่วงตั้งครรภ์และสตรีให้นมบุตร เนื่องจากอินทผาลัมมีส่วนประกอบที่ช่วยในการลดความกดดันของแม่ และเพิ่มน้ำนม และยังช่วยให้ทารกนั้นได้รับสารอาหารนั้นด้วยในการต่อต้านโรคา ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เน้นย้ำถึงความสำคัญของอินททผาลัม และการมีส่วนช่วยเสริมสุขภาพทารกในครรภ์ได้อย่างมีประสิทธภาพ ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ส่งเสริมให้สตรีรับประทาน ทางด้านสถาบันด้านโภชนา ได้แนะนำเด็ก ๆ รับประทานอินทผาลัมเพื่อลดอาการทางประสาท ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ยังแนะนำว่า อินทผาลัมเป็นยาทางใจอีกด้วย ด้านศาสตร์ปัจจุบันรายงานว่า สารอาหารในอินทผาลัมสามารถป้องกันจากโรคาทางระบบทางหายใจได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

อินทผาลัมประกอบไปด้วยสารอาหารทางวิตามิน และแร่ต่าง ๆ เมื่อร่างกายได้รับสารเหล่านั้น หลอดเลือดจะนำสารอาหารไปล่อเลี้ยงจนระดับการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น และส่งผลให้เพิ่มสมรรถภาพในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะอินทผาลัมยังประกอบไปด้วยสารแคลเซียมที่พิ่มความแข็งแรงของกระดูก ทั้งกระดูกอ่อนในเด็กและผู้ใหญ่

อินทผาลัมยังช่วยบำรุงรักษาสายตาในยามค่ำคืนได้อย่างดี ในยุคแรก ๆ นักรบมุสลิมมักพกอินทผาลัมใส่ในกระเป๋าแบบย่ามในการรบ เพราะมันสามารถช่วยในการชูกำลังวังชาได้เป็นอย่างดีเชียวแหละ

ว่ากันว่าท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เคยรับประทานอินทผาลัมกับขนมปังในบางครั้ง ลางทีท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ผสมกับแตงกวา หรือไม่ก็น้ำมันเนย ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) รับประทานอินทผาลัมหลากหลายชนิด แต่ที่ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) โปรดปรานนั้น คงจะเป็นอินทผาลัมชนิด "عَجْوَة (อัจญวะฮ์ - อินทผาลัมชนิดดีเยี่ยม)" ที่มาจากนครมะดีนะฮ์มุเนาวะเราะฮ์.

บริจาคแม้ผลอินทผลัม ช่วยป้องกันตัวเองจากนรก

(من إستطاع منكم أن يستتر من النار ولو بشق تمرة فليفعل) متفق عليه
"ใครก็ตามที่สามารถปกป้องตัวเองให้พ้นจากนรก ถึงแม้ว่า(บริจาค)ด้วยครึ่งเม็ดอินทผลัม ก็จงทำ" (อัลหะดีษ)

“แท้จริงในอินทผลัมมีคุณประโยชน์ 9 ประการ คือ
(1) จะทำลายเชื้อโรค
(2) บำรุงกระดูกสันหลัง
(3) เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
(4) บำรุงหูและสายตา
(5) ทำให้เข้าใกล้ชิดอัลลอฮฺ
(6) ทำให้ออกห่างจากมารร้าย
(7) ช่วยย่อยอาหาร
(8) ขจัดโรคภัยไข้เจ็บ
(9) ทำให้ปากมีกลิ่นหอม”

อินทผลัม (อ่านว่า อินทะผะลำ) เป็นชื่อปาล์มชนิด Phoenix dactylifera Linn ในวงศ์ Plamae ผลกินได้ ภาษาปากมักเรียกว่า อินทผาลัม ในภาษาอาหรับ เรียกว่า อันนัคลุ้ (اَلنَّخْلُ ) หรือ อันนะคีลฺ (اَلنَّخِيْلُ ) เป็นไม้ยืนต้นชอบขึ้นในเขตร้อน มีลำต้นตั้งตรงและยาว มีผลออกเป็นทะลาย ผลของมันมีรสชาติอร่อย ใช้ทำแยมและบางชนิดใช้หมัก เรียกว่า นะบีซฺ อัลบะละฮฺ (نَبِيْذُاَلْبَلَحِ ) นักภาษาศาสตร์บอกว่า เหตุที่เรียกอินทผลัมว่า อันนะคีล เพราะมันมีรากศัพท์มาจากคำว่า นัคลฺ (نَخْلٌ ) ซึ่งหมายถึง คัดเลือก กลั่นกรอง เพราะอินทผลัมจัดเป็นพืชยืนต้นที่มีเกียรติที่สุดในประดาพืชยืนต้นด้วยกัน

ในคัมภีร์อัลกุรอาน ได้กล่าวถึงเรื่องของอินทผลัมเอาไว้หลายแห่งและหลายรูปคำ กล่าวคือ ใช้คำว่า “อันนัคลุ้” (اَلنَّخْلُ ) 10 แห่ง และใช้คำว่า “นัคลัน” (نَخْلاً ) 1 แห่งในบทอะบะสะ อายะฮฺที่ 29, และใช้คำว่า “อันนัคละฮฺ” (اَلنَّخْلَةُ ) 2 แห่งคือในบทมัรยัม อายะฮฺที่ 23 และ 25, และใช้คำว่า “นะคีล” (نَخِيْل ) 7 แห่งด้วยกัน รวม 20 แห่ง

อินทผลัมมีหลายสายพันธุ์และผลอินทผลัมก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น อัลบะละฮฺ (اَلْبَلَحُ ) ซึ่งเป็นผลอินทผลัมช่วงก่อนสุก เมื่อเริ่มเข้าสีเรียกว่า อัลบุสรุ้ (اَلْبُسْرُ ) พอเริ่มสุกเรียกว่า อัรรุฏ่อบุ้ (الرُّطَبُ ) ส่วนอินทผลัมแห้งอย่างที่วางขายทั่วไปนั้นเรียกว่า ตัมรฺ (تَمْرٌ ) ส่วนหนึ่งจากสายพันธุ์ของอินทผลัม คือ ซุกกะรีย์ (سُكَّرِي ) และอัจญ์วะฮฺ (عَجْوَة ) เป็นต้น (1)

อัจวะฮฺ
(عَجْوَةٌ ) หมายถึง อินทผลัมชนิดหนึ่ง ที่ดีที่สุดของเมืองมะดีนะฮฺ
มีรสชาติอร่อย ไม่หวานมาก มีประโยชน์ต่อร่างกายและเป็นยารักษาโรคได้

รายงานจากท่านซะอฺด บินอะบีวักกอส รอฎอยัลลอฮุอันฮุ ว่าแท้จริง ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“ผู้ใดรับประทานอินทผลัมอัจวะฮฺ 7 เม็ดในยามเช้า พิษต่างๆและไสยศาสตร์ไม่สามารถทำอันตรายแก่เขาได้ในวันนั้น”

บันทึกโดยบุคอรี 10/203 บทว่าด้วยการแพทย์

มุสลิม 2047 บทว่าด้วยความประเสริฐของอินทผลัมมะดีนะฮฺ

รายงานจากท่าน อบีสะอีด ว่า ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“อินทผลัมอัจวะฮฺ นั้นมาจากสวนสวรรค์ และมันเป็นยาบำบัดพิษต่างๆ”

บันทึกโดย อันนะซาอี และอิบนุมาญะฮฺ

อัจวะฮฺนั้น สามารถรักษาโรคได้ดังนี้
1. ทำให้ร่างกายแข็งแรง พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ ถ้ารับประทานประจำ
2. ป้องกันไสยศาสตร์ โดยรับประทานวันละ 7 เม็ด
3. รักษาพิษต่างๆ โดยรับประทานวันละ 7 เม็ด

คุณค่าที่ได้รับจากอัจวะฮฺ
ท่านนบีมุฮัมมัด
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม รับประทานอัจวะฮฺทุกวัน วันละ 7 เม็ด
และท่านยืนยันว่า มันป้องกันไสยศาสตร์และพิษต่างๆได้
ดวยการอนุมัติของอัลลอฮฺ ที่มีต่อประชาชาติของท่าน นบีมุฮัมมัด
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

อินทผลัมสด
คือ อินทผลัมทุกชนิด ผลของมันครึ่งดิบครึ่งสุก รสชาติของมัน หวานปนฝาด
แต่อร่อยมาก ปัจจุบัน มันถูกนำมาแช่ตู้เย็นไว้ เพื่อจะได้มีทานทั้งปี
ถึงแม้จะไม่ใช่ฤดูกาลของมันก็ตาม

อัลลอฮฺทรงตัสกับมัรยัมว่า

وَهُزِّي إِلَيْكِ بِجِذْعِ النَّخْلَةِ تُسَاقِطْ عَلَيْكِ رُطَبًا جَنِيًّا ( 25 )
“และเธอ(มัรฺยัม)จงเขย่าต้นอินทผลัม ให้มันเอนมาทางตัวเธอ มันจะหล่นลงมาที่ตัวเธอเป็นอินทผลัมที่สดและสุกน่ากิน” (ซูเราะฮฺ มัรยัม อายะฮฺที่ 25)

อนัสกล่าวว่า “ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยละศีลอดด้วยอินทผลัมสด 2-3 เม็ด
ก่อนที่ท่านจะทำการละหมาด ดังนั้นถ้าไม่มีอินทผลัมสด
ท่านก็รับประทานอินทผลัมแห้ง 2-3 ผล ถ้าไม่มีอินทผลัมแห้งท่านจะดื่มน้ำ
2-3 อึกแทน ”

คุณค่าที่ได้รับจากอินทผลัมสด
ท่านร่อซูลจะละศีลอดด้วยกับอินทผลัมสด
โดยท่านให้เหตุผลว่า
การถือศีลอดนั้นทำให้กระเพาะอาหารปราศจากอาหารเมื่อเรากินทผลัมสดเข้าไป
จะทำให้ความหวานของมันไปหล่อเลี้ยงตับ
และอวัยวะต่างๆของร่างกายให้กลับมาชุ่มชื่นขึ้น และตามด้วยอาหารต่างๆ
ที่ร่างกายต้องการ นับเป็นความเมตตาของอัลลอฮฺ และวงการแพทย์วินัจฉัยว่า
อินทผลัมทุกชนิดมีโปตัสเซียมสูงมาก และมีประโยชน์ต่อร่างกาย (2)

.............................................................................................................
1แชร์

0 ความคิดเห็น: