เราอาจจะเห็นว่าบรรดาผู้บริหารใน บริษัทใหญ่ๆ หรือเจ้าของธุรกิจต่างๆ เดินทางไปรอบโลกเพื่อทำการขยายกิจการของเขา อีกทั้งยังมีผู้ริเริ่มสิ่งใหม่ๆ หลายคนที่สามารถประสบความสำเร็จจาก “การริเริ่มสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้” ซึ่งคนเหล่านี้คือ “ผู้ที่ตัดสิน ใจที่จะพูดด้วย “การกระทำ” และมิใช่เพียงแค่ “การกล่าวคำพูด” พวกเขาทราบดีว่า “การงานเล็กๆ ที่ประสบความสำเร็จ” ย่อมดีกว่า “การงานใหญ่” ที่เป็นได้เพียงแค่ “แผนการ”
พวกเขาจุดประกายสิ่งใหม่ๆ ในหัวสมองเพื่อริเริ่มกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิดผล สำเร็จ และพวกเขาไม่รอให้ใครมากระตุ้นให้ต้องเริ่มกระทำสิ่งนั้น พวกเขาเชื่อว่า “ผลลัพธ์” วัดจากการ “กระทำที่สมบูรณ์แบบ” ไม่ใช่ “ถ้อยคำสวยงามที่ถูกกล่าวขึ้น”
เรามุสลิมทุกคนต่างต้องการที่จะทำงานเผยแพร่ศาสนา (ดะวะฮฺ) และพวกเราต่างก็มีแผนการใหญ่ แต่หลายๆ ครั้ง “แผนการ” ก็ยังคงเป็นเพียง “แผนการ” อยู่เช่นเดิม
คุณลองนึกถึง “บรรดาผู้คนที่ประสบความสำเร็จ” คุณจะพบว่า พวกเขามีคุณสมบัติที่โดดเด่นเหมือนกันคือ พวก เขาต้องการทำงานให้ออกมาดี มากกว่าที่จะพูดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาทำ และผมก็ได้เห็นว่ามันเกิด “ผลสะท้อนกลับที่ดี” จากการมีคุณสมบัติดังกล่าวของบรรดาผู้คนที่ประสบความสำเร็จที่ผม เคยได้อ่าน และผมก็เชื่อมั่นว่า ผู้อ่านต้องมีความคิดเช่นเดียวกันกับผม
เมื่อไม่นานมา นี้ ผมได้อ่านหนังสือชื่อ “Unstoppable” (ไม่มีวันหยุดยั้ง) โดยซินเทีย เคอร์เซย์ ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวสั้นๆ ของคน 45 คนที่เดินหน้าเพื่อบรรลุความต้องการ ของเขา โดยไม่คำนึงถึงความยากลำบากหรืออุปสรรคที่พวกเขาต้องเผชิญ หนึ่งในคุณสมบัติที่โดดเด่นมากที่พวกเขาได้แสดงออกมาให้เห็นคือ “คนเหล่านี้คือผู้ที่พูดด้วย “การกระทำ” ไมใช่ การพูดด้วย “ถ้อยคำ”
ลองพิจารณากันดูนะครับว่า พวกเรากี่คนมีอุปนิสัยที่ชอบพูดว่า “ฉันจะทำสิ่งนั้น” “ฉันจะทำสิ่งนี้” หากแต่ท้ายที่สุดก็จบลงด้วยการ “ไม่ทำอะไรเลย” เราทุกคนต่างย่อมมีความคิดและความฝัน หากแต่มีพวกเรากี่ คนที่ทำให้ “ความคิด และความฝัน” กลายเป็นความจริงได้ “ความคิด” มาแล้วก็จากไป แต่เราก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม หนึ่งความคิดหรือล้านความคิดที่ไม่เคย ถูกนำมาปฏิบัติ ก็มีค่าเพียงแค่ศูนย์ หากแต่เราก็ยังคงพูดโอ้อวดเกินความจริง
เมื่อเราอธิบายสิ่งที่เรากำลังทำ เราก็พูดถึงมันเหมือนกับว่าเรากำลังทำ งานใหญ่มากๆ งานหนึ่ง และสุดท้ายก็จบลงด้วยคำพูดที่ว่า “ฉันกำลังทำสิ่งนี้อยู่” “ฉันกำลังทำสิ่งนั้นอยู่” “ฉันทำสิ่งนั้นเรียบร้อยแล้ว” “ฉันทำสิ่งนี้เรียบร้อยแล้ว” แต่รายการที่ต้องทำก็ยังคงมีต่อไปไม่สิ้นสุด “ความเป็นจริงก็คือ เราอาจจะยังไม่ได้เริ่มภารกิจใดเลยก็เป็นได้” ทั้งนี้มีหลายสาเหตุว่าเหตุใด “การกระทำของ เรา” และ “คำพูดของเรา” จึงไม่สอดคล้องกัน และสิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงบาง สาเหตุของความล้มเหลว
1. ความปรารถนาที่จะได้รับการชื่นชม ยกย่อง สรรเสริญ
เราต่างชอบเวลาที่มีใครสักคนชื่นชมเรา หากมีใครสักคนพูดสิ่งที่ดีเกี่ยวกับเรา เราย่อมรู้สึกดี มีความสุข และนี่ก็คือ “ความ จริง” ที่เราไม่อาจปฏิเสธได้
แต่เมื่อเรามีความปรารถนาที่จะได้รับการชื่นชมมากขึ้น เราก็พยายามจะ บอกทุกคนให้ทราบว่า เรากำลังจะทำสิ่งนั้น สิ่งนี้อยู่ แต่ด้วยเพราะเราไม่มี “แรงบันดาลใจ หรือแรงกระตุ้น” ที่มากพอที่จะเริ่มทำมัน ดังนั้น “คำกล่าวเหล่านั้น” ก็ไม่เคยถูกนำมาสู่ “การปฏิบัติ”
2. การผลัดวันประกันพรุ่งและความเกียจคร้าน
บางครั้งเรามีความปรารถนาที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่เราก็ผัดผ่อนมันออกไป -- ตอนเช้าเราวางแผนว่าเราจะทำสิ่งนั้นในตอนกลางวัน แต่เมื่อถึงตอนกลางวัน เราก็ตัดสินใจที่จะทำมันในตอนเย็น และเมื่อตอนเย็นมาถึง เราก็มีงานอย่างอื่นเข้ามามากมาย จนทำให้เราตัดสินใจที่จะทำมันใน วันรุ่งขึ้น
และวันรุ่งขึ้นนั้นมักจะไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น แล้วเหตุใดเราจึงต้องรอให้วันพ รุ่งนี้มาถึง เมื่อเราสามารถทำให้มันเสร็จในวันนี้ได้?
3. ความอ่อนแอทางจิตใจ
เราอาจมีความปรารถนาที่จะทำหลายสิ่งหลายอย่าง แต่ “แรงกระตุ้นในตัวเรา” นั้นยังไม่เข้มแข็งพอที่จะทำให้มันเกิดขึ้นได้ เมื่อเราพูดเกี่ยวกับสิ่งที่จะทำ เรามักจะมีความรู้สึกปรารถนาอย่างแรงกล้า แต่สุดท้าย เราก็สูญเสีย “ความรู้สึกนั้น” เมื่อมันถึงเวลาที่จะต้องเริ่มภารกิจ
4. การกล่าวตอบรับ (ได้) เมื่อคุณควรกล่าวปฏิเสธ (ไม่)
เราอาจจะมีงานบนหน้าตักของเรามากพอแล้ว และเราก็ทราบดีว่าเราไม่มีเวลาพอที่จะ ทำมากสิ่งอื่นใดไปมากกว่านี้ แต่เมื่อเราถูกขอให้ช่วยเหลือ หรืออาสาสมัครให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราก็มักจะตอบรับไป และนี่เป็นการเพิ่มงานที่ต้องทำให้กับตัวเองมาก ขึ้น และท้ายที่สุดเราก็จบลงด้วยการที่เราไม่สามารถทำงานหลักของเราให้ สำเร็จได้เลย
บนโลกที่คำพูดมักถูกกล่าวขึ้นมาแบบส่งเดชนั้น มันน่าจะดูมีเหตุผลมากกว่าที่เรา จะทุ่ม
เทพลังกายพลังใจของเราไปสู่ “การกระทำ” มากกว่า “การให้คำสัญญา”
ผู้ริ่เริ่มที่แท้จริงนั้นย่อมไม่พูดเกี่ยวกับสิ่งที่เขากำลังจะทำ หากแต่พวกเขาจะเริ่มปฏิบัติก
ารและทำมันเลย เพราะพวกเขาทราบดีกว่า ““การงานเล็กๆที่ประสบความสำเร็จ” ย่อม
ดีกว่า “การงานใหญ่ที่เป็นได้ เพียงแค่ “แผน”
เช่นนั้นแล้วเรามาเป็น “ผู้ปฏิบัติที่แท้จริง” กันดีกว่า ..
0 ความคิดเห็น: