เบื้อง ลึก-เบื้องหลังสินค้าบอยคอต : เทสโก้ โลตัส และ เนสท์เล่ (Nestle)

1.เทสโก้ โลตัส

ในปี 2537 โลตัสซูเปอร์เซ็นเตอร์ (Lotus SUPERCENTER) ได้ถือกำเนิดขึ้นจากกลุ่ม C.P. (เครือเจริญโภคภัณฑ์) เป็นกลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ของไทย ในนามของบริษัทเอก-ชัย ดิสทริบิวชั่นซิสเทม จำกัด พอช่วงวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตกของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2540 กลุ่ม C.P.จึงต้องขายหุ้นให้กับกลุ่มเทสโก้(TESCO) ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติจากสหราชอาณาจักร จนกลายเป็น เทสโก้ โลตัส (TESCO Lotus) มาจนถึงทุกวันนี้

ห้างยิว
เท สโก้ถือเป็นห้างค้าปลีกประเภทของชำที่ ใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจากวอล-มาร์ทของสหรัฐฯ และคาร์ฟูร์ของฝรั่งเศส สำหรับประวัติความเป็นมาของเทสโก้นั้น เริ่มเมื่อปี 1919 เมื่อแจ๊ก โคเฮน ทหารหนุ่มชาวอังกฤษวัย 21 ปี ลูกของยิวโปแลนด์ ผู้รับใช้ชาติในกองทัพอากาศช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เดินทางกลับมาพร้อมเงินรางวัล 30 ปอนด์ ซึ่งเขาใช้แลกเสบียงประเภทข้าวสารอาหารแห้งทั้งหมด จากนั้นก็เปิดแผงลอยในอีสต์ลอนดอนขายของชำพวกนี้ ธุรกิจดำเนินไปด้วยดีจนถึงปี 1924 โคเฮนจึงได้ตั้งบริษัท “เทสโก้” ขึ้น และภายหลังเขาก็ได้แต่งงานกับซาร่า ฟอกซ์ ลูกสาวของชาวยิวรัสเซีย


ค้า ปลีกข้ามชาติ

นอกจากมุสลิมจะบอยคอตเทสโก้ โลตัส ซึ่งถือว่าเป็นห้างค้าปลีกข้ามชาติจากอังกฤษ หนึ่งในประเทศที่สนับสนุนศัตรูอิสลามแล้ว เราจะพบว่าประชาชนชาวไทยในหลายภาคส่วนก็ได้ร่วมรณรงค์ให้บอยคอตห้างเทสโก้ ด้วย เหตุผลหลักก็เนื่องมาจากร้านค้าปลีกข้ามชาติแห่งนี้ได้รุกขยายสาขาออกไปมาก มาย ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อยเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.) ยังได้ออกแถลงการณ์ “ไม่เข้า ไม่ซื้อ ไม่สนับสนุน” No-Lotus อีกด้วย....


2.เบื้อง ลึก-เบื้องหลังสินค้าบอยคอต : เนสท์เล่ (Nestle)


เนสท์เล่ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ.1867 โดยนักเคมีชาวเยอรมันชื่ออองรี เนสท์เล่ (Henri Nestle) สัญลักษณ์ของเนสท์เล่ซึ่งเป็นรูปแม่นกและลูกนกในรังได้มาจากตราประจำตระกูล ของผู้ก่อตั้ง โดยคำว่าเนสท์เล่ในภาษาเยอรมันหมายถึงรังนกเล็กๆ แม้ว่าจะเริ่มต้นธุรกิจด้วยการผลิตอาหารประเภทนมและอาหารเสริมสำหรับเด็ก ทว่าในเวลาต่อมาเนสท์เล่ได้ขยายการผลิตสู่ผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ อีกมากมายอาทิ เครื่องดื่มชนิดผง เครื่องปรุงรสอาหาร ผลิตภัณฑ์แช่เย็นเลี้ยง และผลิตภัณฑ์แช่แข็ง ไอศกรีม น้ำแร่ และอาหารเพื่อสัตว์ เป็นต้น ปัจจุบันสำนักงานใหญ่ของเนสท์เล่ตั้งอยู่ที่เมือง
เวเวย์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีโรงงานผลิต 480 แห่งใน 86 ประเทศมีศูนย์วิจัยหลัก 1 แห่งอยู่ที่เมืองโลซานน์และเครือข่ายศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อีก 23 แห่งใน 4 ทวีป


เนสท์เล่กับการลงทุนในอิสราเอล

เนสท์เล่ เริ่ม การลงทุนในอิสราเอล เมื่อปี 1995 โดยการซื้อหุ้นส่วน 10% ของบริษัทผลิตอาหารโอเซ็ม ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอาหารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆของอิสราเอล สองปีต่อมาเนสท์เล่เพิ่มหุ้นเป็น 50.1% ด้วยเงินทุน 140 ล้านเหรียญ และในปี 1998 ตัวแทนของบริษัทเนสท์เล่ก็ขึ้นรับรางวัล ‘จูบะลี อวอร์ด’จากนายกรัฐมนตรีอิสราเอล อันเป็นรางวัลสูงสุดที่ประเทศอิสราเอลจะให้แก่องค์กรหรือบริษัทต่างชาติที่ ก่อผลประโยชน์มหาศาลให้แก่เศรษฐกิจอิสราเอล
ด้วยความร่วมมือกับโอเซ็ม เนสท์เล่ได้สร้างโรงงานผลิตสินค้าขนาดใหญ่ขึ้นที่เมืองซาดีรูตซึ่งอยู่ห่าง จากฉนวนกาซ่าเพียงไม่กี่ไมล์ และเป็นเมืองที่สร้างทับหมู่บ้านนัจญฺดของชาวปาเลสไตน์ภายหลังจากที่ขับไล่ มุสลิมในพื้นที่ให้เข้าไปอยู่ในฉนวนกาซ่าแล้ว ต่อมาเนสท์เล่ได้ประกาศขยายพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาในเมืองนี้ออกไปอีก ส่งผลให้รัฐบาลอิสราเอลสามารถดำเนินการนำชาวยิวอพยพเข้ามาเพิ่มเติมใน พื้นที่ ภายใต้เหตุผลเพื่อตอบสนองอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่นี้ ปัจจุบัน เนสท์เล่มีลูกจ้างชาวอิสราเอลมากกว่า 4,000 คน ใน 11 โรงงาน โดยโรงงานอย่างน้อยสองแห่งของบริษัทได้สร้างขึ้นบนพื้นที่กำลังพัฒนา อันเป็นคำที่รัฐบาลอิสราเอลใช้เรียกพื้นที่ที่กำลังดำเนินการขับไล่ผู้อยู่ อาศัยชาวปาเลสไตน์ออกไป
เดือนมกราคมปี 2002 รัฐบาลอิสราเอลและสวิสเซอร์แลนด์ทำข้อตกลงการงดเว้นภาษีให้กับบริษัทสัญชาติ สวิสฯที่ดำเนินการผลิตในอิสราเอลและขายในยุโรป ทำให้เนสท์เล่ประกาศขยายการลงทุนครั้งใหญ่ในอิสราเอล โดยทุ่มเม็ดเงินเข้าไปในเศรษฐกิจของอิสราเอลมากกว่า 80 ล้านเหรียญ ส่งผลให้เนสท์เล่กลายเป็นบริษัทที่ครองส่วนแบ่งทางการตลาดถึง 51%ของสินค้าประเภทอาหารและขนมขบเคี้ยวในอิสราเอล และยังมีแผนที่จะลงทุนนับพันล้านดอลลาร์ในการจัดสร้างศูนย์วิจัยขนาดใหญ่ของ บริษัทขึ้นในอิสราเอล



ผลิตภัณฑ์ในเครือ เนสท์เล่ที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทย

เนสท์เล่ เนสกาแฟ เนสวิต้า คอฟฟี่เมท ไมโล มิเนเร่ พัวร์ไลฟ์ คาร์เนชั่น ตราหมี โกโก้ครันช์ ซีรีแล็ค แม็กกี้ คิทแคท สมาร์ตตี้ ครันช์ ลอริอัล อัลโป ฟริสกีส์ ฯลฯ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://www.inminds.co.uk/boycott-nestle.html/ www.nestle.com
http://www.osem.co.il/Eng/_Articles/Article.asp?ArticleID=4&CategoryID=15&Page=1

0 ความคิดเห็น: