นายกฯ ย้ำรัฐบาลพร้อมสนับสนุนอิสลามศึกษา
เลขา เกลี้ยงเกลา / อัจนา วะจิดี
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปาฐกถาการสัมมนานานชาติด้านอิสลามศึกษาว่า
มุสลิมทุกคนต่างถูกเรียกร้องให้ศึกษาหาความรู้ เพื่อตอบสนองสู่ความต้องการสู่สังคม ดังที่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ.ล.)ได้กล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงศึกษาหาความรู้ตั้งแต่อยู่ในแปลจนถึงหลุมฝังศพ” และอีกตอนหนึ่งว่า “การแสวงหาความรู้นั้นเป็นหน้าที่เหนือมุสลีมีนและมุสลีมะห์ทุกคน” มุสลิมทุกคนได้ถูกเรียกร้องให้ตระหนักถึงสิ่งนี้หลายศตวรรษมาแล้ว ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า สื่อถึงการน้อมรับภายนอกและการความใกล้ชิดภายในกับพระผู้เป็นเจ้า คัมภีร์อัลกุรอ่านได้บัญญัติให้ระลึกว่าเป็นการกระทำอันเยี่ยมยอด อิสลามศึกษาจึงควรยิ่งที่จะยกระดับและพัฒนาทักษะความสามารถของมุสลิม เพื่อยังไว้ซึ่งสิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺผู้ทรงสร้างได้ตรัสไว้
ลำดับแรก ควร ย้อนมาพิจารณาถึงเป้าหมายของอิสลามศึกษาควบคู่ไปกับหลักสูตร คณาจารย์ และหลักการสอน อิสลามมิได้สร้างความแตกต่างระหว่างเรื่องศาสนากับการศึกษาเรื่องพื้นฐาน ทั่วไป เพราะทั้งสองอย่างต่างเอื้อซึ่งกันและกัน และศึกษาควบคู่กันในระบบการบูรณาการ เพื่อยังความสำเร็จทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ดังนั้น ระบบการศึกษาร่วมเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องมีความอุตสาหะบากบั่น เพื่อปฏิบัติได้สอดคล้องกับหลักคำสอนของอิสลามอย่างแท้จริง
ลำดับที่สอง ศิลปะ การสอนอิสลามศึกษาต้องควบคู่ไปกับการทบทวนสำรวจจิตใจ การศึกษาในทุกระดับของมนุษย์ในปัจจุบันเป็นปัจจัยอันเป็นมูลเหตุที่นำไปสู่ รูปแบบของคำถามที่แตกต่างและไม่ตรงจุด มุสลิมจึงต้องเสนอแนวทางใหม่และเหตุผลแห่งหลักการ ต่อความเชื่อบนพื้นฐานของความเข้าใจ ซึ่งอิสลามได้เตรียมไว้โดยสมบูรณ์แล้ว
ดังนั้น อิสลามศึกษาในศตวรรษที่ 21 จึงควรจัดความเหมาะสมระหว่างอิสลามศึกษากับสาขาอื่นๆ เพื่อสร้างความมั่นใจในการแข่งขันสู่โอกาสการทำงานในตำแหน่งที่ต้องการทักษะ เฉพาะด้านและความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง ทุกหลักสูตรของอิสลามศึกษาต้องออกแบบเพื่อรองรับตลาดการทำงานอย่างเต็มรูป แบบ เมื่อนักศึกษาจบออกไปย่อมมั่นใจได้ว่าจะมีหน้าที่การงานที่ต้องการรองรับใน สังคม และนำไปสู่การช่วยสร้างสรรค์พัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต
ลำดับที่สาม แทน ที่จะมองตนเองว่าเป็นเพียงคนส่วนน้อยในประเทศ มุสลิมไทยควรตระหนักว่าเราคือส่วนหนึ่งของสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของโลก สร้างมุมมองการมีส่วนร่วมและอบรมบ่มเพาะผู้คนเรื่องสัมพันธภาพอันดีงาม ความอ่อนไหวในเรื่องเชื้อชาติและเพศ การยอมรับความหลากหลายทางศาสนา ความตระหนักรู้ทางสังคมวิทยา พลังมวลชน และตระหนักถึงพระเจ้า
ด้วยกุญแจสามดอกนี้เอง รัฐบาลจึงพยายามที่จะนำอิสลามศึกษาของไทยสู่อีกลำดับขั้นและสู่เป้าหมายที่ชัดเจน ดังนี้คือ
1.ต้อง การให้นักศึกษาไทยมุสลิม มีความรู้รอบด้าน ทั้งด้านทางศาสนาและการก้าวทันวิทยาการด้านอื่นควบคู่กัน มีความกระตือรือร้นในด้านการศึกษา การรวมตัวและสร้างความร่วมมือในภูมิภาค และพยายามอย่างยิ่งที่จะผลิตนักศึกษาในวิชาเอกอิสลามศึกษาให้ตอบสนองสู่ตลาด การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.เตรียมพร้อมที่จะรับมือประเด็นและปัจจัยพื้นฐานที่ ส่งผลกระทบต่อภาวะการแข่งขันในโลก สิ่งสำคัญที่สุดคือการส่งต่อภาระหน้าที่ต่อประชากรของเราต่อนักศึกษามุสลิม ของเรา ความรู้เป็นกุญแจสู่การพัฒนารัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญจุดนี้ จึงเป็นเหตุผลให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นเวลา 15 ปี และเน้นย้ำถึงการประกันคุณภาพการศึกษา การศึกษาตลอดชีวิต และตอบรับต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ
3.ด้วยวิสัยทัศน์นี้จึงต้องยกระดับคุณภาพของอิสลาม ศึกษา และต้องสร้างความมั่นใจได้ว่า อิสลามศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความก้าวหน้า ไทยได้รับผลประโยชน์ ณ จุดนี้โดยสร้างความเหนือกว่าของวิทยาลัยอิสลามศึกษาที่ป็นดั่งศูนย์กลางของ สถาบันอิสลามศึกษาในภาคใต้ของไทย
4.ขณะนี้เราอยู่ในกระบวนการการสร้างแนวทางเพื่ออิสลามศึกษาในไทยและสร้างความร่วมมือสู่การพัฒนาอิสลามศึกษาต่อๆไป
5.หวังว่าวิทยาลัยอิสลามจะเป็นดั่งศูนย์กลางเขต พื้นที่สำหรับอิสลามศึกษาและจุดหมายร่วมกันทั้งนักศึกษาในพื้นที่และนัก ศึกษาต่างชาติสู่การศึกษาในปัตตานี
6.เนื่องจากภาษาอาหรับและภาษาอังกฤษมีความจำเป็น อย่างยิ่งในยุคนี้ รัฐบาลไทยในนามของกระทรวงการต่างประเทศ ภายใต้โครงการเครือข่ายอิสลามศึกษา ได้สนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาวิทยาลัยอิสลามศึกษาที่มีพื้นฐานภาษา อาหรับและภาษาอังกฤษดีในการศึกษาในต่างประเทศ หวังอย่างยิ่งที่จะสานต่อโครงการนี้เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสเรียน รู้ทั้งในอเมริกาและประเทศแถบอาหรับ สร้างเสริมวิสัยทัศน์ให้นักศึกษาพร้อมที่จะกลับมาช่วยเหลือสังคมและส่งเสริม ประเทศชาติเมื่อกลับมา รัฐบาลพร้อมจะสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันและ มีตำแหน่งงานรองรับโดยไม่มีใครตกหล่น
7.รัฐบาลเป็นและจะคงเป็นแรงสนับสนุนให้แก่วิทยาลัย อิสลามศึกษาอย่างไม่สิ้นสุด เพื่อความเยี่ยมยอดในสาขาอิสลามศึกษา มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นแรงผลักดันที่จำเป็นเพื่อตระหนักถึงความปรารถนาอันมี เกียรติ และเน้นย้ำถึงความสำคัญของความเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษโดยให้นักศึกษามีบทบาท สำคัญ ควบคู่ไปกับภาษาอาหรับที่มีความสำคัญในศาสนาอิสลาม
นายอภิสิทธิ์ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การสัมมนาครั้งนี้เป็นการเปิดประตูสู่โอกาสโดยเฉพาะลูกหลานของพี่น้องชายแดน ใต้ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่แต่ละมหาวิทยาลัยได้สร้างเครือข่ายเชื่อมต่อให้โลก มุสลิมเห็นศักยภาพของไทยด้านการศึกษา การได้สัมผัสกับมิตรที่มาจากหลายประเทศรับรู้ได้ว่าเขามีความประทับใจที่ไทย ให้โอกาสในการไม่เลือกปฏิบัติและส่งเสริมโอกาสต่างๆแก่พี่น้องมุสลิมไทย และคาดว่าจะมีการสานต่อด้านการศึกษาและอีกหลายด้านในอนาคตอย่างแน่นอน
สำหรับนโยบายที่จะให้ชายแดนใต้เป็นศูนย์กลางอิส ลามศึกษา และกระแสแห่ง “นครปัตตานี” ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด นายอภิสิทธ์ตอบข้อข้องใจนี้ว่า
“นโยบายที่จะให้ปัตตานีเป็นศูนย์กลางอิส ลามศึกษานั้น ต้องใช้เวลาในการพัฒนาและแสดงศักยภาพอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นเป็นรูปธรรม รวมทั้งมีการขบยายเครือข่ายเพื่อกระตุ้นให้มีการพัฒนามากขึ้น โดยคำนึงถึงความต้องการของพื้นที่อย่างปรากฏชัด รวมทั้งพัฒนาจุดอ่อนที่เยาวชนมีปัญหาด้านภาษา ให้มีการสอนสองภาษา เมื่อมีพัฒนาการที่ดีขึ้น อนาคตเยาวชนจะมีความสามรถในการใช้ได้หลายภาษา และมีความแตกต่างจากพื้นที่อื่นเพราะที่นี่มีทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ และภาษามลายู”
“ในเรื่องของนครปัตตานี รัฐบาลยอมรับเรื่องประวัติศาสตร์และเครารพความหลากหลายมาตลอด เป็นสิ่งที่ประชานได้รับทราบว่ารัฐบาลส่งเสริมพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลาก หลายจริง ทุกหน่วยงานของรัฐได้สนองนโยบายซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินงานในพื้นที่ เรื่องนี้จะเป็นไปอย่างไรต้องมีอีกหลายองค์ประกอบ” - www.muslimthai.com
0 ความคิดเห็น: