เมื่อ แต่งงานง่าย ซินาก็เกิดขึ้นยาก
โดย * อับดุลอะซีซ โสภณวสุ
สังคมยุคใหม่ของ เรานั้นถูกบ่มถูกฝังให้หวาดกลัวการแต่งงาน ไม่เพียงแต่พ่อแม่ผู้ปกครองเท่านั้นที่หวาดหวั่นว่าบุตรหลานจะยังไม่มี ประสบการณ์มากพอที่จะเผชิญกับการใช้ชีวิตคู่ แต่เยาวชนสมัยนี้ก็คิดได้เหมือนผู้ใหญ่เช่นกันว่า การแต่งงานนั้นจะนำมาซึ่งปัญหา นำมาซึ่งภาระ เพราะชีวิตคู่นั้นมักมีปัญหาและมีสิ่งที่ต้องแบกรับภาระรับผิดชอบมากมาย เหตุนี้จึงทำให้คนรุ่นใหม่ไม่นิยมแต่งงานหรือแต่งงานล่าช้า
มีตัวอย่างให้เห็นว่าคู่แต่งงานวัยรุ่นบางคู่ที่ต้องพบกับปัญหาการหย่าร้าง อันเนื่องจากการขาดความสามารถในการเลี้ยงดูครอบครัว หรือทะเลาะเบาะแว้งกันเนื่องจากใจร้อนและขาดประสบการณ์
ช่วง วัยรุ่นนี้โดยธรรมชาติของชายหญิงนั้นต่างฝ่ายต่างต้องการเรียกร้องให้ อีกฝ่ายเข้าใจตน แต่ปัญหาเหล่านี้มักไม่เกิดกับคนที่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เพราะมีอารมณ์ความคิดที่สุขุมกว่า มีความเข้าใจชีวิตมากกว่า แต่ว่าสิ่งนี้ก็จะนำมาเป็นข้ออ้างไม่ได้ว่าวัยรุ่นนั้นไม่ควรแต่งงานต้องรอ ให้อายุมากเสียก่อน เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์เรานั้นไม่สามารถที่จะไปกีดกันไม่ให้มีความรักและ ความใคร่ได้ ยังไงๆวัยรุ่นก็มีสิ่งเหล่านี้อยู่ดี ถึงแม้ไม่ให้เขาได้มีรักอย่างถูกต้อง เขาก็จะไปมีรักในแบบที่ผิดศีลธรรม
อิสลามจึงได้ส่งเสริมให้มีการแต่งงานกันตั้งแต่เป็นวัยรุ่น แต่ทว่าสังคมไม่ยอมเอาคำสอนนี้มาใช้ แล้วเราก็ลองมาดูผลซิว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับสังคม ?
- โดยเฉลี่ยผู้หญิงวัย 16-18 ถือว่าเป็นวัยที่มีความต้องการในเรื่องความรักความใคร่อย่างสูงสุด แล้วทุกวันนี้สังคมสร้างให้เขาเป็นอย่างไร ? ได้แต่งงานมีคู่รักอย่างถูกต้อง
- หรือให้เขาสวมชุดนักเรียนแอบหิ้วกระเป๋าเข้าบ้านเพื่อนนักเรียนชาย ? ซึ่งวันนี้สังคมมันเป็นอย่างนี่แหละ ปฏิเสธไม่ได้
ถามว่านักเรียนมุสลิมวันๆหนึ่งครุ่นคิดแต่เรื่องอะไร ? คำตอบคือ ความรัก, บันเทิง, แฟชั่น, การดึงดูดทางเพศ แต่สังคมกลับป้อนให้เขาแต่เรื่องการหิ้วกระเป๋าไปเรียนหนังสือ แต่ในสมองของพวกเขาสิ่งที่สำคัญกว่าการเรียนคือเพศตรงข้าม นี่คือธรรมชาติที่เปลี่ยนมนุษย์ไม่ได้
แล้ว ถามว่าสังคมนักเรียนมุสลิมมีซินา เกิดขึ้นหรือไม่ ไม่ว่าจะซินาเล็กหรือซินาใหญ่ ? มันก็ต้องบอกว่าจะเป็นไปได้อย่างไรว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่มี ? เพราะพวกเขามีอิสลามกระนั้นหรือ ? ทุกวันนี้อิสลามในสังคมเรามันเข้มข้นพอที่จะป้องกันความชั่วร้ายได้กระนั้น หรือ ? เปล่าเลย คนในยุคนี้ต่างยึดอิสลามกันอย่างหย่อนยาน ครูบาอาจารย์ก็เช่นเดียวกัน
อย่าไปคำนึงว่าวัยรุ่นนั้นขาดประสบการณ์ ชีวิตคู่จะไปไม่รอด จริงๆแล้วตามสถิตินั้น ครอบครัวที่หย่าร้างเตียงหักนั้น
โดยมากเป็นคู่ที่แต่งงานกันตามสังคมแบบตะวันตกทั้งนั้น แต่เอาล่ะใช่ว่าการแต่งงานของวัยรุ่นนั้นจะไม่มีการหย่าร้างเกิดขึ้น
แต่ถามว่าแบบไหนดีกว่า ระหว่างการแต่งงานแล้วแยกทาง กับการทำซินาแล้วไม่แยกทาง ? (แต่โดยมากเมื่อซินาแล้วมักแยกทาง) การแยกทางนั้นไม่ได้เป็นปัญหาอะไรใหญ่โต ศาสนาอนุโลมให้กระทำได้ หากเทียบแล้วปัญหาซินานั้นหนักกว่า
ยิ่งแล้วถ้ามีลูกซินาเกิดขึ้นมาอีกก็วุ่นไปกันใหญ่ สู้ให้แต่งงานแล้วท้องอย่างถูกต้องถึงแม้จะเรียนอยู่ก็ตาม
ถึง กระนั้นกรณีการแยกทางนั้นไม่ใช่เกิดขึ้นง่ายๆ เพราะทั่วไปผู้ใหญ่ก็ย่อมคอยประคับประครองช่วยเหลือ และถ้าคู่แต่งงานมีอิสลามที่เข้มแข็ง มันก็จะช่วยพัฒนาความคิดความอ่านและการครองตนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
จริงอยู่ว่าการแต่งงานที่ดี สุดคือเมื่อมีความพร้อมในทุกด้าน แต่วัยรุ่นวันนี้เราปล่อยรอช้าไม่ได้ สังคมของเราต้องจัดระบบระเบียบใหม่ ให้สามารถนำคำสอนอิสลามมาใช้ได้ ไม่ใช่แขวนเอาไว้ รอจนยุคไหนจะเปลี่ยนแปลงก็ไม่รู้
แหล่งข้อมูล http://www.thailandnewsdarussalam.com
0 ความคิดเห็น: