พันธุ์ไม้และสมุนไพรในอัลกุรอาน : อินทผาลัม (اَلنَّخْلُ ) , (اَلنَّخِيْلُ )




“พืช” หมายถึง เมล็ดพันธุ์ไม้ พืชพันธุ์ก็ใช้ ในภาษาอาหรับเรียก ฮับบะฮฺ (حَبَّةٌ ) หรือ (حُبُوْبٌ ) หรือหมายถึง พรรณพืชทุกชนิด เรียกรวมๆ ในภาษาอาหรับว่า น่าบ๊าตฺ (نَبَاتٌ ) เรียกต้นไม้ ซึ่งหมายถึง พืชชนิดที่มีลำต้นใหญ่มีกิ่งแยกออกไปว่า ชะญะเราะฮฺ (شَجَرَةٌ ) และชาวอาหรับเรียกสมุนไพรว่า อัลอะอฺช๊าบ อัฏฏิบบียะฮฺ (اَلأَعْشَابُ الطِّبِّيَّةُ )

ในคัมภีร์อัลกุรอาน มีระบุถึงพันธุ์พืชและสมุนไพรตลอดจนผลไม้อาไว้หลายชนิด เท่าที่ตรวจทานพบมีดังนี้

1. อินทผลัม (อ่านว่า อินทะผะลำ) เป็นชื่อปาล์มชนิด Phoenix dactylifera Linn ในวงศ์ Plamae ผลกินได้ ภาษาปากมักเรียกว่า อินทผาลัม ในภาษาอาหรับ เรียกว่า อันนัคลุ้ (اَلنَّخْلُ ) หรือ อันนะคีลฺ (اَلنَّخِيْلُ ) เป็นไม้ยืนต้นชอบขึ้นในเขตร้อน มีลำต้นตั้งตรงและยาว มีผลออกเป็นทะลาย ผลของมันมีรสชาติอร่อย ใช้ทำแยมและบางชนิดใช้หมัก เรียกว่า นะบีซฺ อัลบะละฮฺ (نَبِيْذُاَلْبَلَحِ ) นักภาษาศาสตร์บอกว่า เหตุที่เรียกอินทผลัมว่า อันนะคีล เพราะมันมีรากศัพท์มาจากคำว่า นัคลฺ (نَخْلٌ ) ซึ่งหมายถึง คัดเลือก กลั่นกรอง เพราะอินทผลัมจัดเป็นพืชยืนต้นที่มีเกียรติที่สุดในประดาพืชยืนต้นด้วยกัน

ในคัมภีร์อัลกุรอาน ได้กล่าวถึงเรื่องของอินทผลัมเอาไว้หลายแห่งและหลายรูปคำ กล่าวคือ ใช้คำว่า “อันนัคลุ้” (اَلنَّخْلُ ) 10 แห่ง และใช้คำว่า “นัคลัน” (نَخْلاً ) 1 แห่งในบทอะบะสะ อายะฮฺที่ 29, และใช้คำว่า “อันนัคละฮฺ” (اَلنَّخْلَةُ ) 2 แห่งคือในบทมัรยัม อายะฮฺที่ 23 และ 25, และใช้คำว่า “นะคีล” (نَخِيْل ) 7 แห่งด้วยกัน รวม 20 แห่ง

อินทผลัมมีหลายสายพันธุ์และผลอินทผลัมก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น อัลบะละฮฺ (اَلْبَلَحُ ) ซึ่งเป็นผลอินทผลัมช่วงก่อนสุก เมื่อเริ่มเข้าสีเรียกว่า อัลบุสรุ้ (اَلْبُسْرُ ) พอเริ่มสุกเรียกว่า อัรรุฏ่อบุ้ (الرُّطَبُ ) ส่วนอินทผลัมแห้งอย่างที่วางขายทั่วไปนั้นเรียกว่า ตัมรฺ (تَمْرٌ ) ส่วนหนึ่งจากสายพันธุ์ของอินทผลัม คือ ซุกกะรีย์ (سُكَّرِي ) และอัจญ์วะฮฺ (عَجْوَة ) เป็นต้น

******อ่านต่อคลิก......*****


0 ความคิดเห็น: