หัจญ์และบทบัญญัติของหัจญ์


อัล-กุรอานกล่าวว่า

การทำหัจญ์ในเดือนต่าง ๆ ที่รู้กันแล้ว ดังนั้น ผู้ใดปลงใจประกอบการทำหัจญ์ในเดือนเหล่านั้น (ต้องรู้ว่า) ในการหัจญ์ ไม่มีการสมสู่ ไม่มีการทำบาป และไม่มีการวิวาท และสิ่งใดจากการดีที่สูเจ้ากระทำ อัลลอฮฺ ทรงรู้ถึงสิ่งนั้น และจงเตรียมเสบียง แท้จริงเสบียงที่ดีที่สุดคือ การสำรวมตนจากความชั่ว และจงสำรวมตนต่อฉัน โอ้ ผู้มีปัญญาเอ๋ย, ไม่มีบาปแก่สูเจ้า ที่สูเจ้าแสวงหาความโปรดปราน (ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในการหัจญ์) จากพระผู้อภิบาลของสูเจ้า เมื่อสูเจ้าเคลื่อนออกจากอะเราะฟาด ดังนั้น จงรำลึกถึงอัลลอฮฺ ณ อัล-มัชอะริลฮะรอม และจงรำลึกถึงพระองค์ ดั่งที่พระองค์ได้ทรงนำทางสูเจ้า แน่นอน ก่อนหน้านี้สูเจ้าอยู่ในหมู่ผู้หลงทาง, หลังจากนั้น จงเคลื่อนออกไปยังแหล่ง (มินา) ที่ประชาชนเคลื่อนกันไป จงขออภัยต่ออัลลอฮฮ แท้จริงอัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ[1]

คำอธิบาย เสบียงที่ดีที่สุด

สิ่งที่โองการกล่าวถึงคือ บัญญัติเกี่ยวกับการหัจญ์ ต่อเนื่องจากโองการก่อนหน้านี้ พร้อมกับคำสั่งใหม่

1.อันดับแรกโองการกล่าวว่า การทำหัจญ์ในเดือนต่าง ๆ ที่รู้กันแล้ว จุดประสงค์ของเดือนต่าง ๆ คือ เดือนเชาวาล ซิลกะอฺดะฮฺ และซิลหิจญ์

2.หลังจากนั้นโองการกล่าวถึงบุคคลที่เริ่มหัจญ์ด้วยการสวมชุดอิฮฺรอมว่า ผู้ใดปลงใจประกอบการทำหัจญ์ในเดือนเหล่านั้น หลังจากครองอิฮฺรอมแล้ว (ต้องรู้ว่า) ในการหัจญ์ ไม่มีการสมสู่ ไม่มีการทำบาป และไม่มีการวิวาท และสิ่งใดจากการดีที่สูเจ้ากระทำ อัลลอฮฺ ทรงรู้ถึงสิ่งนั้น และจงเตรียมเสบียง แท้จริงเสบียงที่ดีที่สุดคือ การสำรวม

ด้วยเหตุนี้ ในช่วงเทศกาลหัจญ์จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการแสวงหาความสุขทางเพศ การทำบาป และการพูดจาโต้เถียงในเชิงของการทะเลาะวิวาท ไร้สาระ และด่าทอ เนื่องจากในสภาพแวดล้อมเช่นนั้น เป็นช่วงโอกาสที่มนุษย์ต้องปรับสภาพตัวเอง ขัดเกลาจิตวิญญาณ และยกระดับจิตใจตน พร้อมกับตัดขาดจากปัญหาทางโลก เดินทางไปสู่โลกในอีกมิติหนึ่ง ขณะเดียวกันต้องสร้างพื้นฐานของความรัก ความเป็นเอกภาพ และความเป็นพี่น้องกันในหมู่มุสลิมให้มั่นคงแข็งแรงยิ่งขึ้น ดังนั้น การกระทำทุกอย่างที่ขัดแย้งกับสิ่งเหล่านี้ จึงถูกห้ามปรามทั้งสิ้น

3.หลังจากนั้นโองการกล่าวถึงปัญหาด้านจิตวิญญาณของหัจญ์ และกล่าวถึงเรื่องความบริสุทธิ์ใจว่า สิ่งใดจากการดีที่สูเจ้ากระทำ อัลลอฮฺ ทรงรู้ถึงสิ่งนั้น

ประโยคดังกล่าวข้างต้นสร้างความอิ่มเอิบแก่หัวใจอย่างยิ่ง เนื่องไม่มีความสุขใดที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่า การที่ตนได้กระทำความดีงามต่อพระพักตร์ของพระผู้เป็นเจ้า โองการจึงกล่าวเน้นความสำคัญดังกล่าวว่า และจงเตรียมเสบียง แท้จริงเสบียงที่ดีที่สุดคือ การสำรวมตนจากความชั่ว และจงสำรวมตนต่อฉัน โอ้ ผู้มีปัญญาเอ๋ย

ประโยคดังกล่าวได้บ่งชี้ถึงความประณีตและความละเอียดอ่อนของแก่นแท้ของความ จริงว่า การหัจญ์มีประเด็นมากมายสำหรับการตระเตรียมเสบียงด้านจิตวิญญาณ ซึ่งต้องไม่ลืมเลือนสิ่งเหล่านั้น สถานที่ประการหัจญ์มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญหลายแห่ง ภาพเหตุการณ์ที่ให้ชีวิตชีวา เมื่ออิบรอฮีม (อ.) แสดงความเสียสละ ด้วยการเชือดพลีบุตรชาย บ่งบอกถึงความจงรักภักดีที่มีต่อพระเจ้าได้อย่างดีเยี่ยม เป็นช่วงเหตุการณ์พิเศษที่แสดงให้เห็นถึงความใกล้ชิดที่มีต่อพระผู้อภิบาล ดังนั้น สำหรับผู้ที่ไปหัจญ์ด้วยจิตใจที่เปี่ยมล้นไปด้วยพลังศรัทธา และอุดมการณ์แล้ว เขาสามารถจิตวิญญาณใหม่ให้แก่ตนเองได้

โองการถัดมากล่าวถึงการขจัดความสงสัย และความผิดพลาดต่าง ๆ เกี่ยวกับหัจญ์ เนื่องจากในอดีตก่อนการมาของอิสลาม ถือว่าในช่วงเทศกาลหัจญ์ห้ามทำการค้าทุกประเภท หรือแม้แต่การับจ้างขนย้ายบรรดาผู้คนที่เดินทางมาประกอบหัจญ์ หรือขนย้ายเสบียงและสำภาระที่เตรียมมา ถ้าใครกระทำสิ่งเหล่านั้น พวกเขาถือว่า เป็นบาป และหัจญ์เสีย โองการข้างต้นประทานลงมาเพื่อบอกว่ากฎเกณฑ์ที่พวกเขากำหนดขึ้นมาไร้ค่าและ ไม่ถูกต้อง โดยกล่าวว่า ไม่มีบาปแก่สูเจ้า ในการแสวงหาความโปรดปราน (ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในการหัจญ์) จากพระผู้อภิบาลของสูเจ้า หรือทำบางอย่างและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ด้วยความยากลำบากของตน นอกเหนือจากนี้ บรรดานักแสวงบุญที่เดินทางมาจากทั่วทุกสารทิศสามารถตกลงทำการค้า อันเป็นประโยชน์สำหรับสังคมอิสลาม ซึ่งการทำเช่นนี้นอกจากสถานภาพของตน สังคมจะแข็งแรงขึ้นแล้ว ยังเป็นการปรับสภาพตัวเองให้ทัดเทียมหรือเหนือกว่าศัตรู แต่ต้องรู้ว่าการค้าในช่วงเทศกาลหัจญ์ ต้องอยู่ในขอบข่ายของจริยธรรม และอิบาดะฮฺของหัจญ์ มิใช่สิ่งอื่นที่มีความสำคัญมากกว่าหัจญ์ ฮิชาม บุตรของฮะกัม กล่าวว่า ฉันถามอิมามซอดิก (อ.) เพราะเหตุใดพระเจ้าจึงกำหนดการหัจญ์ และเฏาะวาฟเวียนรอบกะอฺบะฮฺ อิมามกล่าวว่า พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา และทรงกำหนดการหัจญ์แก่พวกเขา ซึ่งครอบคลุมทั้งปัญหาศาสนา และปัญหาทางโลก พิธีหัจญ์มุสลิมทั่วโลกจากตะวันออกและตะวันตก เดินทางมารวมกัน เพื่อแสดงการรู้จักกัน ปรึกษาหารือปัญหาต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชาติเหล่านั้นตกลงทำการค้าซึ่งกันและกัน ซึ่งมีผลประโยชน์มหาศาลแอบแฝงอยู่

โองการถัดมา กล่าวสำทับในความหมายเดียวกันว่า จงเคลื่อนออกไปยังแหล่ง (มินา) ที่ประชาชนเคลื่อนกันไป รายงานกล่าวว่า เผ่ากุเรชในสมัยยุคโฉดเขลายึดถือความพิเศษของเผ่าตน อย่างไม่ถูกต้อง เช่น กล่าวว่า ในการหัจญ์เราต้องไม่ไปอาเราะฟะฮฺ เนื่องจากอาเราะฟะฮฺอยู่นอกฮะรัมมักกะฮฺ โองการข้างต้นจึงประทานลงมาเพื่อทำลายความคิดดังกล่าว และกำชับต่อบรรดามุสลิมว่า โอ้บรรดามุสลิมทั้งหลายสูเจ้าจงหยุดพักที่อาเราะฟะฮฺเถิด และจากที่นั้นทั้งหมดค่อยเคลื่อนไปสู่มัชอะริลฮะรอม และสู่มีนา

จากส่วนนี้ของโองการจะเห็นว่า โองการสั่งให้หยุด 3 ที่ กล่าวคือ อาเราะฟะฮฺ ซึ่งห่างจากมักกะฮฺประมาณ 20 กิโลเมตร หลังจากนั้นให้หยุดที่ มัชอะริลฮะรอม หรือ มุซดะละฟะฮฺ และหยุดที่ มีนา ซึ่งเป็นสถานที่เชือดพลี และขว้างเสาหิน และเปลื้องอิฮฺรอมสำหรับการหัจญ์

ประเด็นสำคัญ

สถานที่แรกที่หยุดในการหัจญ์

บรรดานักแสวงบุญทั้งหลาย เมื่อเสร็จสิ้นอุมเราะฮฺแล้ว ก็เตรียมตัวเข้าสู่การหัจญ์ ซึ่งในพิธีหัจญ์หลังจากอิฮฺรอมแล้วการกระทำแรกที่ต้องปฏิบัติคือ การหยุดพักที่ทุ่ง อะเราะฟะฮฺ เหตุที่เรียกว่าอะเราะฟะฮฺ ต้องการบอกว่า แผ่นดินบริเวณนี้เหมาะสมที่สุดสำหรับการทำความรู้จักกับพระผู้อภิบาล และอาตมันบริสุทธิ์ของพระองค์ แน่นอนพลังดึงดูดใจเมื่อย่างก้าวเข้าสู่แผ่นดินนี้สำหรับผู้ที่เดินทางไป หัจญ์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ จะสัมผัสกับความรู้สึกดังกล่าวได้ทันที อันเป็นความรู้สึกที่ไม่มีภาษาใดสามารถอธิบายได้ นอกจากภาษาใจระหว่างตนกับพระผู้อภิบาลของตน บรรดานักแสวงบุญทั้งหมดสวมใส่เสื้อผ้าชุดเดียวกัน ทั้งหมดอยู่ในสภาพเดียวกัน นั่งอยู่บนพื้นทรายเหมือนกัน ทั้งหมดต่างหนีชีวิตที่สับสนวุ่นวายของโลก และวัตถุปัจจัย ไปอยู่ในอิกสภาพแวดล้อมหนึ่งภายใต้ท้องฟ้าที่ใสสะอาด บรรยากาศบริสุทธิ์ปราศจากมลภาวะของบาปกรรม ประหนึ่งได้ยินแต่เสียงรำพันสรรเสริญของญิบรออีล คลุกเคล้าด้วยเสียงแห่งวีรบุรุษ อิบรอฮีม เคาะลีล และเห่กล่อมด้วยเสียงที่เป็นอัมตะของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งให้ความสุขแก่หัวใจเป็นอย่างยิ่ง บนพื้นดินบริสุทธิ์แห่งนี้ทำให้รำลึกถึงท้องทุ่งแห่งวันฟื้นคืนชีพที่ทุกคน ต้องมารวมกัน เพื่อรอการสอบสวน การนั่งบนแผ่นดินดังกล่าวนอกจากการรู้จักพระเจ้า การสรรเสริญพระองค์โดยพร้อมเพรียงกันแล้ว ยังทำให้มนุษย์รู้จักตนเอง ด้วยเหตุนี้ จึงตั้งชื่อแผ่นดินดังกล่าวว่า อะเราะฟะฮฺ

มัชอะริลฮะรอม สถานที่แห่งที่สองที่ต้องหยุดพัก

คำว่า มัชอัร มาจากรากศัพท์คำว่า ชุอูร ในค่ำคืนที่มืดมิด (ค่ำวันอีด) เมื่อบรรดานักแสวงบุญผ่านการอบรมตนเองที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺแล้ว หลังพระอาทิตย์ตกดินทุกคนจะเคลื่อนไปสู่มัชอัร และค้างแรมอยู่จนถึง อะซานซุบฮฺ มัชอะริลฮะรอมเป็นตัวอย่างเล็ก ๆ ของการรวมตัวขนาดใหญ่ในวันฟื้นคืนชีพ แน่นอนว่าในสภาพบรรยากาศเข่นนั้น ความเงียบสงบของท้องทุ่งได้ปลุกอารมณ์ความรู้สึก ที่ซ่อนอยู่ภายใตัชุดอิฮฺรอมได้อย่างดียิ่ง สายตา และการเพ่งพินิจใหม่ที่เกิดจากความคิดและความรู้สึกด้านใน ทำให้รู้สึกว่าตนกำลังพบกับความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้บางประการ เสียงเต้นที่ดังมาจากก้นบึ้งของหัวใจได้ยินอย่างชัดเจน จึงเรียกแผ่นดินนี้ว่า มัชอะริลฮะรอม

0 ความคิดเห็น: