การแต่งงานใน ทัศนะของอิสลาม


อิสลามมิได้ถือ ว่าการแต่งงานเป็นการเชื่อมชายและหญิงเข้าด้วยกัน เพียงเพื่อสนองความต้องการทางเพศแต่เพียงอย่างเดียว แต่การแต่งงานเป็นสัญญาทางสังคมที่ประกอบด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบอันมาก มายและกว้างขวาง เหตุผลของเรื่องนี้อธิบายได้ว่าตามหลักศรัทธานั้นถือว่า สตรีมิใช่เครื่องเล่นของเหล่าบุรุษเพศ แต่สตรีเป็นสิ่งมีชีวิตทางศีลธรรม และสิ่งมีชีวิตทางจิตวิญญาณที่พระองค์อัลลอฮ. ศุบหฯ ทรงมอบหมายให้บุรุษดูแลตามพันธสัญญาซึ่งพระองค์ทรงเป็นพยานในครั้งปฐมกาล เพราะฉะนั้นภรรยาจึงมิใช่ผู้ที่ถูกมุ่งหมายให้สนองความสำราญทางกามให้แก่ บุรุษเพศแต่เพียงอย่างเดียว แต่เพื่อจะร่วมมือกับบุรุษเพศสร้างชีวิตครอบครัว และเหนืออื่นใด คือการสร้างชีวิตมนุษย์ชาติทั้งมวลให้มีความหมายความสำคัญมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ต่าง ๆ ของการแต่งงานมีกล่าวไว้ในอัล-กุรอานหลายอายะฮ.ด้วย กัน ตอนหนึ่งมีใจความว่า “และหนึ่งในสัญญาทั้งหลายของพระองค์ คือพระองค์ได้ทรงสร้างคู่ครองสำหรับพวกเจ้าจากตัวของพวกเจ้าเอง เพื่อพวกเจ้าจะได้มีใจสงบในตัวนาง และพระองค์ได้ทรงทำให้มีความรักและความเอ็นดูในระหว่างพวกเจ้า” (30:21)

นัยของอายะฮ.นี้มีอยู่ สตรีมิได้ต่ำต้อยกว่าบุรุษในแง่ที่ว่าบุรุษถูกสร้างขึ้นมาจากธาตุที่ดีกว่า ขณะที่สตรีเป็นขึ้นมาจากมูลฐานที่ต่ำกว่า ทั้งบุรุษและสตรีจึงมีอินทรีย์ที่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเป้าหมายของการแต่งงานตามอัล-กุรอานจึงได้แก่การรวมสองอินทรีย์ เข้าด้วยกัน ซึ่งในเนื้อแท้นั้นทั้งสองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอยู่แล้ว อัล-กุรอานกล่าวว่า “พระองค์คือผู้ทรงสร้างพวกเจ้าจากอินทรีย์หนึ่งและ ได้ทรงทำจากอินทรีย์นั้นซึ่งคู่ครองของเขา เพื่อเขาจะได้สงบในนาง” (17:189) คำว่า “ความสงบ” ณ ที่นี้จึงมีความหมายมากกว่าการสนองความใคร่ทางเพศแต่เพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นมันจึงไม่ใช่เรื่องผิด ถ้าจะกล่าวว่าแนวความคิดเรื่องความสัมพันธ์ทางการแต่งงานในอิสลามจึงประกอบ ด้วยความคิดทางศีลธรรมและจิตวิญญาณ จากสัมพันธภาพของชีวิตการครองเรือนคู่สามีภรรยาจึงถูกชักนำให้ใกล้ชิดกันและ กันทั้งในแง่ร่างกาย จิตใจและอารมณ์ภายใต้บรรยากาศที่ปกคลุมไปด้วยความตักวา (ความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า)

ท่านอนัสรายงานว่าเศาะหะบะฮ.บางท่านสอบถามบรรดาภรรยาของท่านรสูล ศ็อลฯ เกี่ยวกับการกระทำต่าง ๆ ซึ่งท่านรสูล ศ็อลฯ ทำในที่ลับ เศาะหะบะฮ.บาง คนกล่าวว่า “ฉันจะไม่แต่งงานกับผู้หญิง” บางคนกล่าวว่า "ฉัน จะไม่หลับไม่นอน” และบางคนกล่าวว่า “ฉันจะไม่บริโภคเนื้อ” ท่านรสูล ศ็อลฯ กล่าวสรรเสริญพระองค์อัลลอฮ. ศุบหฯ และกล่าวว่า “เกิดอะไรขึ้นกับผู้คนเหล่านี้ จนพวกเขาพูดกันอย่างนั้นอย่างนี้ ขณะที่ฉันเองทำละหมาด ฉันยังถือศีลอดและฉันละศีลอด ฉันแต่งงานกับผู้หญิงด้วยเช่นกัน และผู้ใดก็ตามที่หันหลังให้กับแนวทางของฉัน เขาย่อมจะไม่มีความสัมพันธ์อันใดกับฉัน” (หะดีษมุสลิม)

หะดีษดังกล่าวบ่งบอกถึงสาระสำคัญและแก่นแท้ของชีวิตตามอุดมคติที่อิสลาม บัญญัติไว้ ตามทัศนะของอิสลามแล้วถือว่าชีวิตมิใช่คุกตะรางอันต่ำช้า มิใช่ถ้ำอันมืดมิดนอกจากนี้ชีวิตยังมิใช่สถานที่สำหรับการตักตวงความสุขที่ ยอมให้บุคคลมีอิสระเสรีจนเกินขอบเขต ชนิดที่เรียกว่าบุคคลจะทำอะไรก็ย่อมได้แล้วแต่เขาจะปรารถนา ความจริงมันคือชีวิตที่จะต้องทำให้คุ้มค่าแก่การดำเนินชีวิตอยู่ บุคคลจะต้องพยายามดำเนินชีวิตอยู่ภายในขอบเขตทางศีลธรรมอันดีงาม เพราะฉะนั้นชีวิตตามอุดมคติของอิสลาม จึงไม่มีช่องว่างสำหรับการสับเปลี่ยนแรงกระตุ้นทางธรรมชาติและแรงกระตุ้นทาง จิตวิญญาณ อิสลามมิได้มองชีวิตใน “ด้านลบ” พูดง่าย ๆ ก็คือในแบบที่เรียกกันว่าจะต้องมีการบำเพ็ญทุกขกิริยา หรือการทรมานตนนั่นเอง การสละที่แท้จริงนั้นได้แก่การแต่งงาน แต่แต่งแล้วจะต้องไม่สนใจการยึดติดกับโลกนี้

อิสลามเคี่ยวเข็ญให้มุสลิมดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความเข้มข้นและมีรสชาติ ในศาสนาอื่น ๆ ความเคร่งครัดศาสนาจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการปฏิเสธตนเองอันเป็นรสชาติของชีวิต ขณะที่อิสลามถือว่าภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็โดยที่ บุคคลทุ่มเทตนเองอย่างแน่วแน่และยินดีปรีดาไปกับอาวุธต่าง ๆ ของชีวิต แต่ก็มีข้อแม้ว่า จะต้องไม่ยอมให้การยั่วยวนทางโลกเข้ามามีอิทธิพลเหนือตนเองและไม่มีสิ่งใด ที่เป็นความชั่วร้าย แรงกระตุ้นทั้งหลายนี้เป็นพลังสร้างสรรค์ที่ถูกประทานให้แก่มนุษย์โดยมีข้อ แม้ว่า มนุษย์จะต้องนำเอาสิ่งเหล่านี้มาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ชีวิตพรตที่ศาสนาทั้งหลายถือว่าเป็นชีวิตตามอุดมคตินั้น มิใช่สิ่งที่อัลลอฮ. ศุบหฯ ทรงประสงค์ เพราะว่าความคิดอย่างนั้นทำให้คนเราเห็นแก่ตัวจนเกินไป จนเกิดการปฏิเสธความรับผิดชอบทางสังคม มันทำให้จิตใจกระด้างและยังยุยงส่งเสริมให้คนเราเกิดความรู้สึก “อกตัญญู” ต่อบรรดาคนใจพระหรือคนดีที่มีชีวิตอยู่ในสายใยผูกพันทางโลก มารดาทั้งหลายถูกละทิ้ง ภรรยาถูกปฏิเสธและเด็ก ๆ ทั้งหลายถูกทอดทิ้งให้อยู่กันตามลำพังเยี่ยงขอทานร่อนเร่ออกหาความเมตตาจาก โลกนี้ พวกบำเพ็ญตะบะนี้สนใจ แต่เพียงความหลุดพ้นของจิตวิญญาณอย่างเดียว การบำเพ็ญตะบะอันสงบเงียบของเขาถือได้ว่าเป็น “ความเสียหาย” เพราะเหตุว่าหน้าที่ที่ง่ายที่สุด เช่น หน้าที่ต่อครอบครัว ชุมชน และรัฐไม่ได้รับความสนใจใยดีจากพวกที่ใฝ่แสวงหาความหลุดพ้นที่เห็นแก่ตัว เหล่านั้น

การแต่งงานเป็นหนึ่งในบทบาทอันสำคัญของชีวิตมนุษย์ การปฏิเสธการแต่งงานปรากฏอย่างชัดแจ้งจากผลลัพธ์อันเลวร้ายต่อไปนี้

1.

การผิดประเวณีมีเพิ่มมากขึ้น
2.

บทบาทในการป้องกันตนเองของครอบครัวถูกเปลี่ยนให้ ไปอยู่ในมือของตำรวจและองค์การทางสังคม
3.

การพักผ่อนหย่อนใจภายในครอบครัวส่วนมากเปลี่ยนไป เป็นภาพยนตร์ กีฬา ละคร และล่าสุดก็ได้แก่โทรทัศน์
4.

ครอบครัวสูญสลายไปเพราะการทำประกันชีวิตให้กับพ่อ แม่ที่แก่ชรามากแล้ว (อ้างอิงจากหนังสือ The Sexual Wilderness ของ Vance Packard หน้า 228)

ท่านอุสมาน บุตรของมะชูนกล่าวว่า “โอ้ท่านรสูลแห่งอัลลอฮ. ได้โปรดอนุญาตให้ผมเป็นขันทีด้วยเถิด (เพราะว่าผมจะได้ไม่หลงไปทำผิดประเวณี)” ท่านรสูลแห่งอัลลอฮ.กล่าว ตอบว่า “บุคคลใดก็ตามที่ทำคนอื่นให้เป็นขันที หรือบุคคลใดก็ตามที่ยอมให้ตัวเองเป็นขันที คนเหล่านี้ไม่ใช่พวกของเรา การถือศีลอดจะช่วยเรื่องดังกล่าวได้ ในท่ามกลางอุมมะฮ.ของฉัน” อุสมาจึงพูดว่า “ได้โปรดอนุญาตให้ผมดำเนินชีวิต ได้แก่การญิฮาดในหนทาง ของอัลลอฮ.” อุสมานกล่าวว่า “ชีวิตแบบนักบวชในประชาชาติของฉันนั้นประกอบด้วยการนั่งในมัสญิด แล้วรอคอยเวลาละหมาดนั่นเอง” (หะดีษ จากรัชห. อัส-สุนนะฮ.)

การแต่งงานเป็นหนึ่งในสุนนะฮของท่านรสูล ศ็อลฯ ถ้าไม่มีเหตุผลจำเป็นโดยแท้จริงแล้ว ห้ามมิให้คนเราปฏิเสธการแต่งงาน ใครเล่าจะเหนียมอายยิ่งไปกว่าสาวพรหมจรรย์ที่คลุมศีรษะ มีหะดีษวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “เครื่องหมอและภริยาถูกทำให้เป็นที่รักใคร่แก่ฉัน การละหมาดจะทำให้สายตาของฉันสงบลงได้”

ท่านรสูล ศ็อลฯ กล่าวไว้ในวาระอื่นมีความว่า “การปฏิบัติตัวของ บรรดาศาสดาทั้งหลายนั้นมีอยู่ 4 ประการด้วยกัน ได้แก่ความพอประมาณ การใช้เครื่องหอม การแปรงฟัน และการแต่งงาน”

ท่านอบู ฮุรอยเราะฮ. รายงานว่าท่านรสูล ศ็อลฯ กล่าวว่า “มีอยู่ สามสิ่งด้วยกันที่ใครปฏิบัติแล้วมีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากอัลลอฮ คือทาสที่นายยอมไถ่ตนเองเป็นอิสระ เมื่อทาสผู้นั้นประสงค์จะจ่ายเงิน บุคคลที่แต่งงานด้วยความปรารถนาที่จะดำเนินชีวิตอย่างบริสุทธิ์ และบุคคลที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ.” (หะดีษ ติรมีซี นะสาอีและอิบนุ มาญะฮ.)

ท่านอะลีรายงานจากท่านรสูล ศ็อลฯ ว่า “อาลี ! มีอยู่สามประการด้วยกันที่เจ้าจะต้องไม่ผัดวันประกันพรุ่ง ได้แก่การทำละหมาดเมื่อเวลามาถึง การฝังศพ และการแต่งงงานของสตรีที่ยังไม่ได้สมรส เมื่อเธอพบบุคคลหนึ่งซึ่งอยู่ในขั้นเหมาะสมสำหรับเธอ” (หะดีษ ติรมิซี)

0 ความคิดเห็น: