ความสุภาพอ่อนโยนของท่านนบี

มารยาทและคุณลักษณะนิสัยที่ดี

ความสุภาพอ่อนโยนของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

1. มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า :

أَنَّ أَعْرَابِيًّا بَالَ فِى الْمَسْجِدِ، فَثَارَ إِلَيْهِ النَّاسُ لِيَقَعُوا بِهِ، فَقَالَ لَهُمْ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ «دَعُوهُ، وَأَهْرِيقُوا عَلَى بَوْلِهِ ذَنُوبًا مِنْ مَاءٍ - أَوْ سَجْلاً مِنْ مَاءٍ -، فَإِنَّمَا بُعِثْتُمْ مُيَسِّرِينَ، وَلَمْ تُبْعَثُوا مُعَسِّرِينَ».

ความว่า ชาวอาหรับชนบทคนหนึ่งได้ถ่ายปัสสาวะในมัสยิด ผู้คนจึงกรูเข้าหาหมายจะทำร้ายเขา

ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงกล่าวกับพวกเขาว่า “จงปล่อยเขา(ให้ถ่ายปัสสาวะจนเสร็จก่อน) และ จงนำน้ำถุงหนึ่ง หรือถังหนึ่งมาราดปัสสาวะเขา เพราะแท้จริงแล้วพวกเจ้าถูกบังเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นผู้อำนวยความสะดวกและไม่ ได้ถูกบังเกิดให้เป็นผู้สร้างความลำบาก”

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 6128 และมุสลิม : 284)

2. จากอะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«يَسِّرُوا وَلاَ تُعَسِّرُوا ، وَسَكِّنُوا وَلاَ تُنَفِّرُوا»

ความว่า “พวกเจ้าจงทำให้ง่าย อย่าทำให้ยาก และจงทำให้สบายใจ อย่าทำให้ตื่นตระหนก”

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 6125 และมุสลิม : 1734)

3. มีรายงานจากอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«يَا عَائِشَةُ إِنَّ اللَّهَ رَفِيقٌ يُحِبُّ الرِّفْقَ، وَيُعْطِي عَلَى الرِّفْقِ مَا لاَ يُعْطِي عَلَى الْعُنْفِ، وَمَا لاَ يُعْطِي عَلَى مَا سِوَاهُ»

ความว่า “โอ้ อาอิชะฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้อ่อนโยนและทรงโปรดปรานความอ่อนโยน และทรงประทานบนความอ่อนโยนในสิ่งที่ไม่ประทานบนความแข็งกร้าว และสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากมัน”

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 6927 และมุสลิมตามสำนวนนี้ : 2593)

การอภัยของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :

«فَاعْفُ عَنْهُمْ وَاصْفَحْ إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُحْسِنِينَ»

ความว่า “ดังนั้น เจ้าจงยกโทษให้พวกเขา และจงอย่าถือสา แท้จริงแล้วอัลลอฮฺนั้นทรงรักผู้ที่ทำความดี” (อัล-มาอิดะฮฺ : 13)

2. จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ได้กล่าวว่า :

مَا خُيِّرَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بَيْنَ أَمْرَيْنِ إِلاَّ أَخَذَ أَيْسَرَهُمَا، مَا لَمْ يَكُنْ إِثْمًا ، فَإِنْ كَانَ إِثْمًا كَانَ أَبْعَدَ النَّاسِ مِنْهُ، وَمَا انْتَقَمَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لِنَفْسِهِ، إِلاَّ أَنْ تُنْتَهَكَ حُرْمَةُ اللَّهِ فَيَنْتَقِمَ لِلَّهِ بِهَا.

ความว่า “เมื่อท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ถูกเสนอให้เลือกระหว่างสองสิ่ง ท่านจะเลือกสิ่งที่ง่ายกว่าเสมอ ตราบใดที่สิ่งนั้นไม่เป็นบาป เพราะหากสิ่งนั้นเป็นบาปท่านจะเป็นคนที่ห่างไกลจากมันมากกว่าใครๆ

และท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่เคยแก้แค้นเอาคืนให้กับตัวเอง นอกจากเมื่อเกียรติของอัลลอฮฺถูกลบหลู่ ท่านก็จะแก้แค้นเพื่อเรียกร้องเกียรติของอัลลอฮฺกลับคืนมา”

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 3560 และมุสลิม : 2327)


การหัวเราะของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

1. จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา นางได้กล่าวว่า :

مَا رَأَيْتُ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مُسْتَجْمِعًا قَطُّ ضَاحِكًا حَتَّى أَرَى مِنْهُ لَهَوَاتِهِ ، إِنَّمَا كَانَ يَتَبَسَّمُ.

ความว่า “ฉันไม่เคยเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม หัวเราะร่าสุด ๆ จนเห็นเหงือกของท่านเลย แต่ท่าน(หัวเราะ)เพียงแค่ยิ้มเท่านั้นเอง”

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 6092 และมุสลิม : 899)

2. จากญะรีร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

مَا حَجَبَنِى النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مُنْذُ أَسْلَمْتُ ، وَلاَ رَآنِى إِلاَّ تَبَسَّمَ فِى وَجْهِي

ความว่า “ตั้งแต่ฉันเข้ารับอิสลามมา ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่เคยปิดกั้นฉัน(ไม่ให้เข้าพบท่าน) และเมื่อใดที่ท่านเห็นฉันท่านจะส่งยิ้มให้”

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 6089 และมุสลิม : 2475)

การร้องไห้ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

1. จากอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

قَالَ لِي النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ « اقْرَأْ عَلَيَّ » . قُلْتُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ آقْرَأُ عَلَيْكَ وَعَلَيْكَ أُنْزِلَ قَالَ « نَعَمْ » . فَقَرَأْتُ سُورَةَ النِّسَاءِ حَتَّى أَتَيْتُ إِلَى هَذِهِ الآيَةِ (فَكَيْفَ إِذَا جِئْنَا مِنْ كُلِّ أُمَّةٍ بِشَهِيدٍ وَجِئْنَا بِكَ عَلَى هَؤُلاَءِ شَهِيدًا) قَالَ : « حَسْبُكَ الآنَ » . فَالْتَفَتُّ إِلَيْهِ فَإِذَا عَيْنَاهُ تَذْرِفَانِ .

ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวแก่ฉันว่า “จงอ่านให้ฉันฟังซิ”

ฉันตอบว่า “โอ้ ท่านรอซูล จะให้ฉันอ่านแก่ท่านหรือ ทั้ง ๆ ที่มันได้ถูกประทานลงแก่ท่าน?

ท่านตอบว่า “ ใช่” แล้วฉันก็อ่านสูเราะฮฺอัน-นิสาอ์จนถึงอายะฮฺนี้ :

«فَكَيْفَ إِذَا جِئْنَا مِنْ كُلِّ أُمَّةٍ بِشَهِيدٍ وَجِئْنَا بِكَ عَلَى هَؤُلاءِ شَهِيدًا»

ความว่า “จะเป็นอย่างไรเล่า เมื่อเราได้นำพยานหนึ่งคนจากทุกประชาชาติ และเราได้นำเจ้ามาเป็นพยานแก่พวกเหล่านี้” (อัน-นิสาอ์ : 41)

ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็กล่าวว่า “พอแล้วแค่นี้ “ฉันหันมามองท่าน ปรากฏว่าดวงตาทั้งสองของท่านนองด้วยน้ำตา

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 5050 และมุสลิม : 700)

2. จากอับดุลลอฮฺ บิน อัล-ชิคคีร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يُصَلِّي وَفِي صَدْرِهِ أَزِيزٌ كَأَزِيزِ الرَّحٰٰى مِنَ الْبُكَاءِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ.

ความว่า “ฉันเห็นท่านรอซูล กำลังละหมาดโดยที่อกของท่านมีเสียงสะอึ้นไห้ คล้ายกับเสียงโม่แป้ง”

(หะดีษ เศาะฮีหฺ, บันทึกโดยอบู ดาวูดตามสำนวนนี้ : 904 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบีดาวูด : 799 และอัน-นะสาอีย์ : 1214 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัน-นะสาอีย์ : 1156)


ความอดทนของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม


1. จากอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

دَخَلْتُ عَلَى رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَهُوَ يُوعَكُ فَمَسِسْتُهُ بِيَدِي، فَقُلْتُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ، إِنَّكَ لَتُوعَكُ وَعْكًا شَدِيدًا. فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «أَجَلْ، إِنِّي أُوعَكُ كَمَا يُوعَكُ رَجُلاَنِ مِنْكُمْ». قَالَ، فَقُلْتُ : ذَلِكَ أَنَّ لَكَ أَجْرَيْنِ. فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «أَجَلْ».

ความว่า ฉันได้เข้าหาท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ในขณะที่ท่านกำลังป่วยหนัก ฉันเลยเอามือไปสัมผัสท่านด้วยมือของฉัน แล้วกล่าวว่า “โอ้ ท่านรอซูล แท้จริงแล้ว ดูท่านเจ็บปวดมาก”

ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงตอบว่า “ใช่ ฉันเจ็บเท่ากับพวกท่านสองคนเจ็บ”

อิบนุ มัสอูด เล่าต่อว่า ฉันเลยกล่าวต่อไปว่า “ที่เป็นเช่นนี้ เพราะท่านจะได้รับผลบุญสองเท่า”

ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ตอบว่า “ใช่”

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 5667และมุสลิมตามสำนวนนี้ : 2571)

2. จากค็อบบาบ บิน อัล-อะร็อต เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

شَكَوْنَا إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَهْوَ مُتَوَسِّدٌ بُرْدَةً لَهُ فِى ظِلِّ الْكَعْبَةِ، فَقُلْنَا : أَلاَ تَسْتَنْصِرُ لَنَا ؟ أَلاَ تَدْعُو لَنَا ؟. فَقَالَ : «قَدْ كَانَ مَنْ قَبْلَكُمْ يُؤْخَذُ الرَّجُلُ فَيُحْفَرُ لَهُ فِى الأَرْضِ فَيُجْعَلُ فِيهَا، فَيُجَاءُ بِالْمِنْشَارِ فَيُوضَعُ عَلَى رَأْسِهِ فَيُجْعَلُ نِصْفَيْنِ، وَيُمَشَّطُ بِأَمْشَاطِ الْحَدِيدِ مَا دُونَ لَحْمِهِ وَعَظْمِهِ، فَمَا يَصُدُّهُ ذَلِكَ عَنْ دِينِهِ، وَاللَّهِ لَيَتِمَّنَّ هَذَا الأَمْرُ، حَتَّى يَسِيرَ الرَّاكِبُ مِنْ صَنْعَاءَ إِلَى حَضْرَمَوْتَ لاَ يَخَافُ إِلاَّ اللَّهَ وَالذِّئْبَ عَلَى غَنَمِهِ، وَلَكِنَّكُمْ تَسْتَعْجِلُونَ».

ความ ว่า พวกเราได้มาร้องทุกข์ต่อท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม โดยที่ท่านกำลังตะแคงบนผ้าคลุมของท่านใต้ร่มเงาของกะอฺบะฮฺ พวกเรากล่าวว่า “ท่านจะไม่ขอความช่วยเหลือให้แก่เราหรือ ? ท่านจะไม่ขอดุอาอ์ให้แก่เราหรือ ?”

ท่านรอซูลตอบว่า “เคยมีชนก่อนหน้าพวกท่านที่ถูกนำตัวไป แล้วได้มีการขุดหลุมในดินเพื่อวางตัวเขาลงไปในนั้น แล้วเลื่อยก็ถูกนำมาวางไว้บนหัวของเขา แล้วก็เลื่อยหัวของเขาจนแยกเป็นเป็นสองส่วน และเขาได้ถูกหวีผมด้วยหวีเหล็กจนกระทั่งเหลือแต่เนื้อและกระดูก

แต่สิ่งนั้นก็ไม่สามารถจะหันเหเขาให้ออกจากศาสนาแต่อย่างใด ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ว่าแน่แท้ งาน(อิสลาม)นี้จะต้องลุล่วงสมบูรณ์จนกระทั่งคนขี่พาหนะสามารถจะเดินทางจากเมืองศ็อนอาอ์จนถึงเมืองหัฏเราะเมาต์(ทั้งสองเมืองอยู่ในประเทศเยเมน)ได้(อย่างปลอดภัย) โดยไม่กลัวผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ และ(ไม่กลัวสิ่งใดเลย)นอกจากแค่ว่ากลัวหมาจิ้งจอกจะมาทำร้ายฝูงแกะของเขาเท่านั้น เพียงแต่พวกเจ้าใจร้อน”

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 6943)

ความอารีของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา กล่าวแก่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า :

يَا رَسُولَ اللَّهِ هَلْ أَتَى عَلَيْكَ يَوْمٌ كَانَ أَشَدَّ مِنْ يَوْمِ أُحُدٍ؟، فَقَالَ : «لَقَدْ لَقِيتُ مِنْ قَوْمِكِ وَكَانَ أَشَدَّ مَا لَقِيتُ مِنْهُمْ يَوْمَ الْعَقَبَةِ إِذْ عَرَضْتُ نَفْسِي عَلَى ابْنِ عَبْدِ يَالِيلَ بْنِ عَبْدِ كُلاَلٍ فَلَمْ يُجِبْنِي إِلَى مَا أَرَدْتُ، فَانْطَلَقْتُ وَأَنَا مَهْمُومٌ عَلَى وَجْهِي فَلَمْ أَسْتَفِقْ إِلاَّ بِقَرْنِ الثَّعَالِبِ، فَرَفَعْتُ رَأْسِي فَإِذَا أَنَا بِسَحَابَةٍ قَدْ أَظَلَّتْنِي، فَنَظَرْتُ فَإِذَا فِيهَا جِبْرِيلُ فَنَادَانِي فَقَالَ : إِنَّ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ قَدْ سَمِعَ قَوْلَ قَوْمِكَ لَكَ وَمَا رَدُّوا عَلَيْكَ، وَقَدْ بَعَثَ إِلَيْكَ مَلَكَ الْجِبَالِ لِتَأْمُرَهُ بِمَا شِئْتَ فِيهِمْ». قَالَ : فَنَادَانِي مَلَكُ الْجِبَالِ وَسَلَّمَ عَلَيَّ، ثُمَّ قَالَ يَا مُحَمَّدُ إِنَّ اللَّهَ قَدْ سَمِعَ قَوْلَ قَوْمِكَ لَكَ وَأَنَا مَلَكُ الْجِبَالِ وَقَدْ بَعَثَنِي رَبُّكَ إِلَيْكَ لِتَأْمُرَنِي بِأَمْرِكَ، فَمَا شِئْتَ؟ إِنْ شِئْتَ أَنْ أُطْبِقَ عَلَيْهِمُ الأَخْشَبَيْنِ». فَقَالَ لَهُ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «بَلْ أَرْجُو أَنْ يُخْرِجَ اللَّهُ مِنْ أَصْلاَبِهِمْ مَنْ يَعْبُدُ اللَّهَ وَحْدَهُ لاَ يُشْرِكُ بِهِ شَيْئًا».

ความว่า โอ้ ท่านรอซูล ท่านเคยเจอวันใดที่หนักยิ่งกว่าวันสงครามอุหุดไหม?

ท่านตอบว่า “แท้จริงแล้ว ฉันเคยเจอกับ(การต่อต้าน)จากเผ่าพันธุ์(กุเรชมักกะฮฺที่ปฏิเสธศรัทธา)พวกของเจ้า และที่รุนแรงที่สุดที่ฉันได้รับ (การต่อต้าน) จากพวกเขาก็คือในวันอัล-อะเกาะบะฮฺ ตอนที่ฉันเสนอตัวฉันต่อบุตรอิบนุ อับดิยาลีล บินอับดิกุลาล

(คือ ผู้กว้างขวางแห่งเมืองฏออิฟคนหนึ่ง เป็นชาวอาหรับเผ่าษะกีฟ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนเชาวาล ปีที่ 10 ของการประกาศศาสนาอิสลามที่มักกะฮฺ หลังจากการเสียชีวิตของอบู ฏอลิบ และท่านหญิงเคาะดีญะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ภริยาผู้มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่อิสลาม, ดู ฟัตหุล บารีย์ : 6/363 – ผู้แปล)

แล้วเขาไม่ตอบรับต่อข้อ เรียกร้องของฉัน แล้วฉันก็ผละตัวออกไปด้วยใบหน้าที่เศร้าหมอง แล้วฉันก็มาหยุดที่ควน “ก็อรนุลซะอาลิบ” ฉันจึงเงยศีรษะขึ้นและพบว่าฉันได้ถูกเมฆก้อนหนึ่งลอยมาบัง ฉันจึงเพ่งมองออกไป ปรากฏว่ามีมลาอิกะฮฺญิบรีลอยู่ในนั้น

ท่านเรียกฉันและบอกว่า ’แท้จริง อัลลอฮฺทรงได้ยินคำพูดของกลุ่มชนพวกท่าน(พวกกุเรชที่ปฏิเสธศรัทธา)ต่อ ท่าน และสิ่งที่พวกเขาต่อต้านท่าน และพระองค์ทรงส่งมลาอิกะฮฺที่คอยดูแลภูเขาเพื่อให้ท่านสั่งการให้เขาทำสิ่ง ที่ท่านประสงค์ต่อพวกเขาเหล่านั้น‘”

ท่านรอซูลเล่าต่อว่า “แล้วมะลาอิกะฮฺภูเขาก็เรียกฉันและให้สลามแก่ฉัน

แล้วกล่าวว่า ‘โอ้ มุหัมมัด แท้จริงอัลลอฮฺทรงได้ยินคำพูดของกลุ่มชนของท่านต่อท่าน และข้าคือมลาอิกะฮฺที่คอยดูแลภูเขา ซึ่งพระผู้อภิบาลของท่านได้ส่งตัวข้าให้ท่านสั่งข้าในงานของท่าน แล้วท่านต้องการอะไร? หากท่านต้องการให้ฉันนำสองภูเขามาทับพวกเขา(ฉันก็จะทำ)’

ท่านรอซูล ตอบว่า : “ทว่าฉันหวังว่าอัลลอฮฺจะให้กำเนิดทายาทของพวกเขาที่กราบไหว้อัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่ตั้งภาคีใดๆ กับพระองค์ออกมาจากก้นหลัง(หมายถึงที่กำเนิดอสุจิในร่างกายมนุษย์-ผู้แปล) ของพวกเขา”

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 3231 และมุสลิมตามสำนวนนี้ : 1795)

มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด

0 ความคิดเห็น: