‘สหัสวรรษ’ แห่ง‘ไคโร’ (ตอน 2) จบ

undefined

จารึกภาษาอาหรับและอียิปต์โบราณในไคโรเก่า เป็นโองการในบท ยอห์น 4 : 13-14

ที่แปลว่า “ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้เมตตา ทุกคนที่ดื่มจากน้ำนี้

จะกระหายด้วย แต่ผู้ใดก็ตามที่ดื่มน้ำที่ฉันมอบให้จะไม่กระหายอีกเลย”

สำหรับ อียิปต์ การเข้ามาของฟาติมิดเป็นสิ่งที่มากกว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองและย้ายเมือง หลวงเท่านั้น มันเป็นการบอกลาโดยสิ้นเชิงจากศาสนา การเมือง สังคม และวัฒนธรรมที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมา เป็นยุคสมัยที่อียิปต์ได้แสดงตัวในฐานะเป็นประเทศแถวหน้าของอาณาจักรมุสลิม

ผู้ที่เป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงนี้คือ อัล-มุอิซ และบุตรชายของเขาคือ อัล-อาซิส ผู้เป็นพ่อที่ปรารถนาในอียิปต์มาหลายปี เขาได้ปกครองที่นั่นเพียงสองปีเท่านั้น แต่ในช่วงสองปีนั้น เขาได้ปูทางให้แก่การปกครอง 21 ปีของผู้เป็นบุตรชายด้วยความสงบสุขและเจริญรุ่งเรือง

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่อัล-มุ อิซมีคือการเปิดกว้าง ถึงแม้จะเป็นชีอะฮ์ แต่เขาหลีกเลี่ยงความรุนแรงในการเปลี่ยนความเชื่อของเขาไปตามหลักคำสอนของ ซุนนีที่มีอำนาจเหนืออยู่จนกระทั่งเขาสามารถพิชิตเมืองได้ อีกอย่างหนึ่งคือความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ที่มักส์ ใกล้กับเอสบิกียะฮ์ในปัจจุบัน เขาได้สร้างท่าเทียบเรือแห่งแรกขึ้น ในตอนนั้นมีเรือเทียบที่นั่น 600 ลำ เป็นกองเรือที่เพิ่มความเข้มแข็งทางการค้าจนทำให้อียิปต์กลายเป็นคู่ปรับของแบกแดดในไม่ช้า

กระเบื้องโมเสควาดภาพเซนต์จอร์จ ในไคโรเก่า

เพื่อการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยให้แก่ข้าราชบริพารที่มีถึง 20,000 คน และความรักของเขาที่มีต่อความหรูหรา เขาได้จัดให้มีระบบการเก็บภาษีที่เข้มงวดจนสามารถเก็บเงินได้ถึงวันละ 150,000 เหรียญจากในอัล-ฟุสตัตที่เดียว

อัล-อาซิสปฏิบัติตามแบบอย่างของพ่อ เขาได้เพื่อพระราชวังของเขาเอง คือ “พระราชวังเลสเซอร์ตะวันตก” บวกเข้ากับตำหนักสีทอง และตำหนักดีวานผู้ยิ่งใหญ่ และตำหนักไข่มุก ทั้งหมดนี้ได้สูญหายไป เขาได้วางรากฐานของมัสญิดอัล-ฮากิม ซึ่งได้เพิ่มโดมเข้าไปในภายหลัง ตัวอย่างของโดมแบบอิสลามสามารถพบว่า ยังมีอยู่ในมัสญิดสมัยฟาติมิดสามหลังในไคโค คือ อัล-อัซฮัร, อัล-ฮากิม และอัล-กุยูชี มัสญิดเล็กๆ หลังนี้ตั้งอยู่บนขอบเนินเขามุกอตตัม สร้างขึ้น เมื่อปี 1805 โดยบัดรฺ อัล-กอมาลี และเป็นมัสญิดหลังเดียวในยุคนั้นที่หออะซานยังอยู่สมบูรณ์

หากว่ากาหลิบราชวงศ์ฟาติมิดที่เหลือคนอื่นๆ ปฏิบัติตามแบบอย่างของอัล-มุอิซแล้ว ประวัติศาสตร์ในอีก 177 ปีต่อมาอาจจะแตกต่างออกไปอย่างมาก แต่เมื่ออัล-ฮา กิมผู้บ้าคลั่งขึ้นครองบัลลังก์ เรื่องราวของฟาติมิดกลับเปลี่ยนไปสู่ตำนานของการกดขี่ ขาดแคลน และสงคราม ที่ดำเนินต่อไปจนกระทั่งถึงวันเดือนพฤศจิกายน ปี 1169 เมื่อทหารได้จุดไฟจากน้ำมัน 20,000 บาร์เรล เผาเมืองอัล-ฟุสตัตจนราบเป็นหน้ากลองในกองไฟที่ลุกอยู่นาน 54 วัน

เหมือนเป็นลางร้าย สมัยปกครองของอัล-ฮากิม ที่ครูคนหนึ่งตั้งชื่อเล่นให้เขาว่า “จิ้งจก” เริ่มต้นขึ้นด้วยการฆาตกรรม ด้วยวัยเพียง 15 ปี เขาก็สร้างความหวาดกลัวให้แก่ข้าราชบริพารได้แล้วด้วย “ตาสีน้ำเงินที่ร้ายกาจ” ของเขา และเสียงราวฟ้าผ่าที่ทำให้แม้แต่ผู้ใหญ่ยังตัวสั่นเมื่ออยู่ต่อหน้าเขา อัล-ฮากิมได้สั่งประหารชีวิตผู้สำเร็จราชการแผ่นดินที่รับใช้เขามาสี่ปีในทันที เป็นคำสั่งประหารครั้งแรกในจำนวนหลายๆ ครั้ง ตลอดระยะเวลา 25 ปี อัล-ฮากิมใช้อำนาจบังคับให้ชาวอียิปต์ปฏิบัติตามคำบัญชาเพี้ยนๆ ของเขา

ปกหน้าหนังสือ “Islamic Monuments in Cairo : The Practical Guide”

เขียนโดย แคโรลีน วิลเลียมส์ จัดพิมพ์โดย The American University in Cairo Press

เขา ไม่เพียงแต่ห้ามสุรา อย่างที่ควรจะคาดหวังจากกาหลิบที่ดีเท่านั้น แต่ยังได้สั่งทำลายไร่องุ่น การทำองุ่นแห้งเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และริบน้ำผึ้ง เขาห้ามเล่นเกมทุกประเภท แม้กระทั่งหมากรุก และสั่งช่างทำรองเท้าให้เลิกผลิตรองเท้าสำหรับใส่นอกบ้านของผู้หญิง เพื่อบังคับให้ผู้หญิงต้องอยู่แต่ในบ้านตลอดเวลา จนถึงขนาดว่า ผู้หญิงถูกห้ามไม่ให้ปรากฏตัวผ่านหน้าต่าง และยังห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้นไปบนชั้นหลังคาบ้านของตัวเองอีกด้วย ในปี 1005 เขา เขาได้ดำเนินการประหัตประหารชาวคริสเตียนในอียิปต์ และความรุนแรงสุดท้ายที่นำพาเขาไปสู่ความหายนะคือ เขาอ้างตัวว่าเป็นร่างจุติของพระเจ้า อันเป็นการละเมิดความศรัทธาของคนโดยทั่วไป เมื่อประชาชนเริ่มทำการปฏิวัติ เขาส่งกำลังทหารเข้าแต่ไม่สามารถควบคุมพวกเขาได้

ถึงแม้จะมีการส่งเสริมที่ดีขึ้นบางอย่างในไคโร มีมัสญิดฮากิม, มุศอลลา อัล-อิด และดารฺ อัล-อิลม์ อยู่ในพระราชวังหลวง แต่สมัยการปกครองของอัล-ฮา กิมได้สร้างความเสียหายให้แก่สายตระกูลฟาติมิด ถึงแม้จะมียุคสมัยที่สงบสุขและเจริญรุ่งเรือง แต่เรื่องราวของฟาติมิดภายหลังจากนั้นมีแต่การสู้รบ, โรคภัย และความตาย

ในสมัยการปกครองของอัล-มุ สตันซิร ทหารชาวเติร์กในกองทัพต่อสู้กับทหารชาวซูดานและเบอร์เบอร์เป็นเวลาสิบปี ขับไล่พวกเขาออกไปแล้วเข้ายึดไคโร พวกเขาถูกโค่นล้มก็ต่อเมื่อบัดรฺ-อัล-กามาลี เจ้ามืองดามัสกัสผู้มีความสุขุมและเด็ดเดี่ยว ถูกส่งเข้ามาโดยอัล-มุสตันซิรเพื่อเข้าควบคุมกองทัพ

ในปี 1066 เป็น ช่วงเริ่มต้นของภาวะอดอยากเจ็ดปี ซึ่งทำให้ผู้หญิงต้องขายบ้านเพื่อแลกกับแป้งหนึ่งกระสอบ และคนฆ่าสัตว์ต้องขายม้า ลา สุนัข และแมว หลังจากภาวะอดอยากนั้นก็ได้เกิดโรคระบาดขึ้นอีก

บัดรฺ-อัล-กามา ลี และบุตรชายของเขาคืออัฟดัล ชาฮันชา ได้นำยุคสมัยแห่งความสงบร่มเย็นมาสู่อียิปต์ พวกเขาได้ทำให้ฟุสตัตสงบลง ฟื้นฟูการเกษตร ในยุคนี้ บรรดาช่างฝีมือในประเทศ ทั้งช่างปูน ช่างไม้ ช่างแก้ว และช่างทำอัญมณี ต่างบันทึกเรื่องราวความรุ่งเรืองของราชวงศ์ฟาติมิดลงบนก้อนหิน ไม้ ปูน แก้ว และอัญมณีล้ำค่า มีความพัฒนาที่สำคัญในเมืองนี้ด้วยเช่นกัน คือการก่อสร้างกำแพงใหม่ และประตูหินที่ยิ่งใหญ่อีกสามประตู คือ บาบ อัล-ฟุตูห์, บาบ อัล-นัสร์ และ บาบ ซุวัยลา ทั้งสามประตูนี้ตั้งตระหง่านอยู่ในปัจจุบันในฐานะเป็นอนุสรณ์แห่งยุคฟาติมิด

อย่างไรก็ตาม ราชวงศ์ได้เดินทางมาถึงจุดสิ้นสุดของมันด้วยการก่อจลาจลขึ้นในพระราชวัง และความไม่สงบนั้นรุนแรงจนกระทั่งในปี 1149 ประชาชน ชาวไคโรได้ร้องเรียนต่ออามิรฺ ตาลาอี อิบนฺ รุซซิก ผู้ว่าราชการเมืองอัชมุนัยน์ทางตอนเหนือของอียิปต์ให้มาแก้ไขสถานการณ์ เขามาตามคำร้องเรียน และหลังจากนั้นไม่นาน เขาได้สร้างมัสญิดหลังหนึ่งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะของเขา ปัจจุบันตั้งอยูใกล้กับ บาบ ซุวัยลา

undefined

แผนที่ไคโร จากกิตาบ บะฮ์รียะฮ์ โดย พีรี ราอีส


ในขณะนั้น กองทัพของพวกครูเสดได้เคลื่อนไปทางตะวันตกของเยรูซาเล็ม และเป็นภัยคุกคามของอียิปต์ เมื่อตาลาอีไม่สามารถขับไล่พวกเขาออกไปได้ เขาเองก็พ่ายแพ้ด้วยเช่นกัน

หลัง จากผู้ว่าราชการจากทางเหนือของอียิปต์ที่ชื่อชาวัรฺ เดินทัพเข้ามายังไคโรและยึดฝ่ายอัครมหาเสนาบดีมาจากบุตรชายของตาลาอีได้ใน ไม่ช้า ชาวัรฺผู้ทำการต่อสู้เพื่อได้มาซึ่งอำนาจ ได้เสนอรายได้จากภาษีของอียิปต์หนึ่งในสามให้แก่เจ้าชายนูรฺ อิด-ดีน ผู้เป็นซุนนี เพื่อให้เขาช่วยสนับสนุนในการต่อต้านพวกกบฏ นูรฺ อิด-ดีนเข้ามา แต่แล้วก็แตกกันกับเชาวัรฺที่ขณะนั้นเข้าไปเกี่ยวข้องกับผู้ทำสงครามครูเสด และหลังจากเชาวัรฺได้เผาอัล-ฟุสตัตจนเหลือแต่ซากแล้ว เขาได้เข้ามา ในเมือง และได้แต่งตั้งซอลาฮุดดีนเป็นนายกรัฐมนตรี และในปี 1171 เขาได้กำจัดชื่อเสียงของ “กาหลิบแห่งฟาติมิด” ไปตลอดกาล

พร้อมกับความเสียหายของอัล-ฟุ สตัตนี้เอง ที่ไคโรเริ่มเจริญเติบโตขึ้นโดยธรรมชาติ พระราชวังหรูหราบางแห่งถูกขายไปและบางแห่งกลายเป็นซากปรักหักพังไป และเมื่อเวลาผ่านไปหลายศตวรรษ สิ่งที่เคยเป็นความรุ่งเรืองของฟาติมิดค่อยๆ ลบเลือนหายไปท่ามกลางประชากรที่กระจายแผ่กว้างออกไปจากไคโรจนกระทั่งถึง ปัจจุบัน

ในวาระครบรอบวันเกิด 1,000 ปี ของเมืองนี้ มีมัสญิดเพียงไม่กี่หลัง ประตูโบราณ กำแพงผุพัง และชิ้นส่วนของเครื่องปั้นดินเผา และเครื่องแกะสลักที่ยังคงเหลืออยู่เป็นหลักฐานการเริ่มต้นที่รุนแรง แต่รุ่งโรจน์ ของเมืองหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในโลกแห่งนี้

แปล : เยาวฮาเราะห์ ยอมใหญ่
แหล่ง ที่มา : http://www.muslimheritage.com/topics/default.cfm?TaxonomyTypeID=21&TaxonomySubTypeID=111&TaxonomyThirdLevelID=-1&ArticleID=1309

0 ความคิดเห็น: