Organization of the Islamic Conference หรือ OIC เป็นองค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศอิสลาม ปัจจุบันมีสมาชิก 57 ประเทศ จากทุกภูมิภาคทั้ง เอเชีย ยุโรป แอฟริกา และอเมริกาใต้ จึงนับเป็นองค์กรระหว่างประเทศของโลกมุสลิมขนาดใหญ่ที่สุดและมีบทบาทความ สำคัญมากที่สุด
อัฟกานิสถาน อัลบาเนีย แอลจีเรีย อาเชอร์ไบัน บังกลาเทศ เบนิน บรูไน บูร์กินาฟาโซ แคเมอรูน ชาด โคโมรอส จิบูดี อียิปต์ กาบอง กาตาร์ แกมเบีย กินี กินีบิสเซา กียานา อินโดนีเซีย อิหร่าน อิรัก จอร์แดน คาซัคสถาน คูเวต คีร์กิสถาน เลบานอน ลีเบีย มาเลเซีย มัลดีฟส์ มาลี มอริเตเนีย โมร็อกโก โมซัมบิก ไนเจอร์ ไนจีเรีย โอมาน ปากีสถาน ปาเลสไตน์ ซาอุดีอาระเบีย เซเนกัล เซียร์ราลีโอน โซมาเลีย ซูดาน สุรินัม ซีเรีย ทาจิกิสถาน โตโก ตูนีเซีย ตุรกี เตอร์กเมนิสถาน ยูกันดา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อุซเบกิสถาน เยเมน และโกตดิวัวร์
OIC ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 1971 ตามมติที่ประชุมสุดยอดครั้งแรกของผู้นำกลุ่มประเทศมุสลิม 35 ชาติ ที่กรุงราบัต ราชอาณาจักรโมร็อกโก ระหว่างวันที่ 22-25 กันยายน 1969 (การประชุมสุดยอดดังกล่าวมีขึ้นเพื่อหาทางสร้างองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐ มุสลิม หลังจากเกิดกรณีการวางเพลิงมัสยิดอัลอักซอร์ (Al –Aqsa Mosque) ซึ่งเป็นศาสนสถานที่สำคัญอันดับ 3 ของโลกมุสลิม เมื่อเดือนสิงหาคม 1969)
การจัดตั้ง OIC มีกษัตริย์ Faisal แห่งซาอุดีอาระเบีย และกษัตริย์ Hassain แห่งโมร็อกโก เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดัน โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และการผนึกกำลังกันของประชาชาติมุสลิม (Islamic Ummah) ตามแนวทาง pan-Islamism และการพิทักษ์และส่งเสริมผลประโยชน์ของชาวมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลดปล่อยดินแดนของชาวอาหรับ/มุสลิมรวมทั้ง Al Quds Al Sharif (เยรูซาเล็ม) จากการยึดครองของอิสราเอล
OIC ได้ให้สถานะผู้สังเกตการณ์ (Observer Status) แก่ 4 ประเทศได้แก่ บอสเนีย - เฮอร์เซโกวินา สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (Central African Republic) ไทย และรัสเซีย นอกจากนี้ ชุมชนมุสลิมในประเทศต่าง ๆ เช่น สาธารณรัฐไซปรัสเหนือ (Turkish Republic of Nothern Cyprus) ซึ่งอยู่ภายใต้ตุรกี และ Moro National Liberation Front (MNLF) ในฟิลิปปินส์ยังได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ในประเภทชุมชนมุสลิมและชนกลุ่ม น้อยมุสลิม (Muslim Communities and Minorities) ด้วย
0 ความคิดเห็น: