ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์หรือเหตุการณ์ใดก็ตาม ผู้เป็นภรรยาควรรักษาไว้ซึ่ง “ความนิ่งสงบของเธอ” และระมัดระวังไม่ให้ตัวเธอขึ้นเสียงขณะพูดคุยกับสามี เธอควรให้เกียรติเขาตลอดเวลา และไม่ปล่อยให้ตัวเธอพูดจาหยาบคาย หรือกล่าวถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมออกมา
การที่ผู้เป็นภรรยาปฏิบัติต่อสามีด้วยการให้เกียรติและด้วยความสุภาพนั้น ย่อมสามารถทำให้หัวใจของผู้เป็นสามีอ่อนโยนลงได้ แม้แต่กับสามีที่มีอุปนิสัยที่โมโหร้าย (หรือชอบความเผด็จการ) ก็ตาม
พึงระลึกว่า “ความไวของลิ้น" ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดผลกระทบที่สร้างความเสีย หายต่อใครคนใดคนหนึ่งไปจนชั่วชีวิต ดังนั้นจงใช้น้ำเสียงที่อ่อนโยนขณะพูด เพื่อที่ว่าจะไม่เกิดซึ่ง "ความรู้สึกเจ็บปวดใดๆ" ต่อผู้รับฟัง และหากแม้ว่าจะไม่มี "รางวัลตอบแทนใด" ต่อการกระทำดังกล่าวในดุนยานี้ จงอย่าลืมว่าแท้จริงแล้ว "รางวัลการตอบแทน" นั้นมากมายสำหรับท่านในวันอาคิเราะหฺ"
“วิธี การที่หยาบคายหรือหยาบกระด้างนั้นย่อมก่อให้เกิดผลร้ายที่ตามมา” และหากว่าที่ผ่านมานั้น ผู้เป็นภรรยาปฏิบัติหรือพูดจาต่อสามีด้วยความหยาบกระด้าง ดังนั้นเธอก็ไม่ควรมัวเสียเวลาในการที่จะเข้าไปหาสามีของเธอและกล่าวคำขอโทษ ต่อเขา พร้อมทั้งปฏิบัติดีต่อเขาอย่างสุดความสามารถเพื่อทำให้เขามีความสุข
และพึงระลึกไว้ว่า แม้ว่าพ่อแม่ของคุณจะร่ำรวย หรือมีทรัพย์สินมากมายเพียงใด คุณก็ไม่ควรหลงผิดคิดไปเองว่าคุณสามารถทิ้งสามีของคุณไปอยู่กับพ่อแม่ของคุณ เมื่อไรก็ได้ ถึงแม้ว่ามันอาจจะเป็นการง่ายสำหรับคุณในการที่จะโทรศัพท์ไปหาพ่อหรือพี่ชาย ของคุณให้มารับคุณกลับไป แต่มันก็จะเป็นสิ่งที่ยากที่สุด หรือยากยิ่งกว่าในการที่คุณจะกลับมาหาสามีของคุณอีกครั้ง เมื่อเวลานั้นมาถึง
“การทิ้งสามีของคุณ” อาจหมายถึงการทิ้งให้เขาอยู่ภายใต้การดูแลของสตรีอื่น อีกทั้งเขาอาจไม่มีทางที่จะกลับมาเป็น “สามีคนเดิม” ที่เคยเป็นของคุณเพียงคนเดียวก็ได้ และเขาอาจไม่สามารถที่จะกลับมาเป็นเช่นเดิมได้อีกเลย และถึงแม้ว่าแม่ของคุณหรือน้องชายคนเล็กของคุณจะให้การส่งเสริม สนับสนุนการแยกกันอยู่ระหว่างคุณกับสามี แต่อาจเป็นไปได้ว่า เมื่อวันเวลาผ่านไปคุณย่อมเสียใจกับการตัดสินใจของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวันหนึ่งที่น้องชายของคุณแต่งงาน คุณย่อมมีน้องสะใภ้คนใหม่เข้ามาอยู่ร่วมด้วย และอาจเกิดการแข่งขันระหว่างกัน (เพื่อแย่งความรักจากน้องชาย) .. เหตุการณ์ต่อไปนี้ไม่ควรที่จะเกิดขึ้น เมื่อน้องชายของคุณและน้องสะใภ้บอกกับคุณว่า “ที่ผ่านมา พี่ไม่สามารถอยู่กับสามีและแม่สามีของพี่ด้วยดีได้ มันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่พี่ไม่สามารถอยู่กับเราอย่างสงบสุขได้เหมือน กัน!!”
แน่นอนว่า "สถานการณ์เช่นนี้" สามารถทำให้ดอกไม้ที่เคยเบ่งบานเหี่ยวเฉาลงได้ทันที ในทางกลับกัน “ผู้หญิง” สามารถอดทนต่อคำต่อว่า ด่าทอของสามีได้เป็นพันพันคำ แต่เธอไม่สามารถอดทนต่อคำต่อว่าของน้องสะใภ้ได้แม้แต่เพียงคำเดียว และแน่นอนว่า "ขนมปังแห้งกับน้ำเปล่า" ในบ้านของสามีย่อมดีกว่า “การได้ทานข้าวหมก” ในบ้านของน้องชายคุณเสียอีก
“บ้านของสามี” เป็นบ้านเพียงหลังเดียวสำหรับผู้เป็นภรรยา และเธอควรพยายามทำทุกๆ วิธีทางที่จะทำให้ทุกๆ คนภายในบ้านดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข เธอควรยอมรับความยากลำบากทั้งหลายด้วยรอยยิ้ม เพราะสิ่งเหล่านี้ย่อมผ่านเข้ามาขณะที่เธอยังคงอยู่ในบ้านหลังเดียวกันกับ สามี ที่สำคัญนั้นเธอควรมุ่งเน้นความสนใจไปที่อัลลอฮฺ ตะอาลา เมื่อใดก็ตามที่เธอประสบทุกข์ และเธอควรร้องไห้กับพระองค์ วิงวอนขอให้พระองค์ทรงบรรเทาความทุกข์ทั้งหลายแก่เธอ อย่างไรก็ตาม เธอไม่ควรมีความคิดที่ว่า “เธอจะมีความสุข หรือมีสบายมากกว่านี้ หากเธอได้ไปอยู่ที่อื่น” อินชาอัลลอฮฺ อีกไม่นานช่วงเวลานั้นจะมาถึง เมื่ออัลลอฮฺทรงทำให้เธอรำลึกถึงสวนแห่งสวรรค์ญันนะฮฺ”
5. ข้อเท็จจริงที่สำคัญอีกประการที่ผู้เป็นภรรยาทุกๆ คนควรพึงระวังเมื่อเธออยู่กับสามีของเธอ นั่นคือ “เธอไม่ควรพูด หรือกล่าวสิ่งใดต่อสามีเสมือนกับการ “ออกคำสั่ง” แท้ จริง ธรรมชาติของมนุษย์นั้นไม่ชอบการถูกสั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้น้ำเสียงที่แข็งกร้าวร่วมด้วย และผู้ที่พูดจาออกคำสั่งเช่นนี้ย่อมถูกปฏิเสธ หรือไม่ได้รับความร่วมมือจากอีกฝ่ายไม่หนทางใดก็หนทางหนึ่ง บรรดานักกฎหมายเคยกล่าวว่าผู้เป็นพ่อไม่ควรใช้น้ำเสียงเสมือน “การออกคำสั่ง” เมื่อต้องการสั่งสอนหรือชี้แนะลูกของเขาให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะหากว่าลูกของเขาปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามสิ่งที่ได้รับการบอกกล่าวจากผู้ เป็นพ่อ อันเนื่องมาจากน้ำเสียง ของเขา ผู้เป็นพ่อย่อมถือว่ามีความผิด หากแต่ว่าผู้เป็นพ่อควรที่จะพูดกับลูกด้วยวิธีการนี้แทน เช่นว่า “ลูก พ่อคิดว่ามันน่าจะดีกว่าสำหรับลูก ถ้าลูกทำแบบนั้น…” (คุลาฟะตุล ฟัตวา บทที่ 4 หน้าที่ 340)
ดังนั้นสำหรับผู้เป็นภรรยา แทนที่เธอจะบอกกล่าวกับสามีว่า “เอาอันนี้มาให้ฉันหน่อย” “ทำอันนี้สิ” หรือ “บอกเค้าอย่างนี้สิ” แต่ผู้เป็นภรรยาควรพูดว่า “มันน่าจะดีกว่านะคะถ้าคุณทำแบบนั้น” หรือ “ฉันอยากให้คุณทำแบบนั้นมากกว่านะคะ” หรือ “รบกวนช่วยหยิบมันให้ฉันได้มั้ยค่ะ ขอบคุณนะคะ”
หากผู้เป็นภรรยาทุกคนสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวนี้ได้ แน่นอนว่าพวกเธอจะได้เห็นความแตกต่างในด้านบวกที่จะเกิดขึ้นในชีวิตของพวก เธอ ขออัลลอฮฺทรงทำให้บรรดามุสลิมทั้งหลายปฏิบัติตามคำแนะนำที่กล่าวมาด้วยเถิด อามีน
แหล่งที่มา จากหนังสือ A Gift for Muslim Bride โดยมุหัมมัด ฮะนีฟ อับดุล มะญีด หน้าที่ 251-253
0 ความคิดเห็น: